วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

80 วิธีลดโลกร้อน (ตอน 2)

21. ยืด อายุตู้เย็นด้วยการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงานให้ตู้เย็นด้วยการใช้อย่างฉลาด ไม่นำอาหารร้อนเข้าตู้เย็น หลีกเลี่ยงการนำถุงพลาสติกใส่ของในตู้เย็นเพราะจะทำให้ตู้เย็นจ่ายความเย็น ได้ไม่ทั่วถึงอาหาร ควรย้ายตู่เย็นออกจากห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ ละลายน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็น เป็นประจำเพราะ ตู้เย็นจะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งเกาะ และทำความสะอาดตู้เย็นทุกสัปดาห์

22. ริเริ่มใช้พลังงานทางเลือกในอาคารสำนักงาน เช่น ติดตั้งแผงโซลาร์เซล เพื่อใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเฉพาะจุด

23. ใช้แสงแดดให้เป็นประโยชน์ ในการตากเสื้อผ้าที่ซักแล้วให้แห้ง ไม่ควรใช้เครื่องปั่นผ้าแห้งหากไม่จำเป็น เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า

24. ใช้ น้ำประปาอย่างประหยัด เพราะระบบการผลิตน้ำประปาของเทศบาลต่าง ๆ ต้องใช้พลังงาน จำนวนมากในการทำให้น้ำสะอาดและดำเนินการจัดส่งไปยังอาคารบ้านเรือน

25. ติดตั้งฝักบัวอาบน้ำที่ปรับความแรงน้ำต่ำ ๆ ได้ เพื่อจะได้เปลืองน้ำอุ่นน้อยลง (เหมาะทั้งในบ้านและโรงแรม)

26. ติด ตั้งเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าและลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้น จากโรงผลิตกระแสไฟฟ้า

27. สร้าง นโยบาย 3 Rs- Reduce, Reuse, Recycle ทั้งในบ้านและอาคารสำนักงาน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เป็นการลดพลังงานในการกำจัดขยะ ลดมลพิษและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการกำจัด

28. ป้องกัน การปล่อยก๊าซมีเธนสู่บรรยากาศ ด้วยการแยกขยะอินทรีย์ เช่น เศษผัก เศษอาหาร ออกจากขยะอื่น ๆ เป็นการลดปริมาณขยะและแยกขยะอื่น ๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

29. ทาหลังคาบ้านด้วยสีอ่อน เพื่อช่วยลดการดูดซับความร้อน

30. นำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารบ้านเรือน โดยใช้การออกแบบบ้าน

31. ปลูกต้นไม้ ในสวนหน้าบ้าน ต้นไม้ 1 ต้นจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน

32. ปลูกไผ่แทนรั้ว ต้นไผ่เติบโตเร็ว เป็นรั้วธรรมชาติที่สวยงาม และยังดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี

33. ใช้ ร่มเงาจากต้นไม้ช่วยลดความร้อน ในตัวอาคารสำนักงาน หรือบ้านพักอาศัย ทำให้สามารถลดความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศ เป็นการลดการใช้ไฟฟ้า

34. ไม่ ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนไม้ประดับที่บ้าน เมื่อต้องการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้ไม้ดอกไม้ใบเจริญงอกงาม ออกดอกสีสดและใบเขียวงาม ขอให้เลือกใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ หรืออาจทำขึ้นมาเองโดยการหมักเศษพืช เศษผักผลไม้ที่เก็บมากจากในสวนนั้น หรือจากในครัวที่แม่บ้านแยกขยะย่อยสลายได้ออกมาแล้วจากขยะอื่น ๆ ระหว่างประกอบอาหาร

35. ลด ปริมาณการใช้ถุงพลาสติก ถุงพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ การเผากำจัด ในเตาเผาขยะอย่างถูกวิธีต้องใช้พลังงานจำนวนมากที่ทำให้มีก๊าซเรือนกระจก เพิ่มในบรรยากาศหันมาใช้ ถุงผ้าหรือหิ้วตะกร้าไปซื้อของ โดยปฏิเสธพนักงานประจำร้านที่จะใส่ของในถุงพลาสติกให้อย่างฟุ่มเฟือย

36. เลือก ซื้อสินค้าที่มีหีบห่อน้อย ๆ หีบห่อหลายชั้นหมายถึง การเพิ่มขยะอีกหลายชั้นที่จะต้องนำไปกำจัด เป็นการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศโดยไม่จำเป็น

37. เลือก ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเติมใหม่ได้ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีกล่องบรรจุที่เมื่อใช้สินค้าหมดแล้ว ก็สามารถหาซื้อเฉพาะตัวสินค้ามาเติมในกล่องบรรจุเดิมได้เลย เป็นการลดขยะจากหีบห่อของบรรจุภัณฑ์

38. ใช้ กระดาษทั้ง 2 หน้า กระบวนการผลิตกระดาษเริ่มต้นตั้งแต่การตัดต้นไม้ ขนส่งมายังโรงเลื่อย ส่งไปยังโรงงานทำกระดาษ ตัด ปั่น ฟอกสี ทำแผ่น อบให้แห้ง หีบห่อ ก่อนจะขนส่งมาถึงร้านค้าต่าง ๆ แทบทุกขั้นตอนใช้พลังงานจากน้ำมันและไฟฟ้าจำนวนมาก เพราะฉะนั้นจงใช้มันอย่างคุ้มค่าทั้ง 2 ด้าน

39. เลือก ใช้กระดาษรีไซเคิล กระดาษรีไซเคิลลดขั้นตอนหลายขั้นตอนในกระบวนการผลิตกระดาษ แม้จะมีราคาแพงกว่าแต่ถ้ามีความต้องการจากผู้บริโภคจำนวนมาก ๆ กลไกการตลาดก็จะช่วยให้ราคาสินค้าลดลงมาได้

40. ตั้ง เป้าลดการผลิตขยะของตัวเองให้ได้ 1 ใน 4 ส่วนหรือมากกว่า ในที่ทำงานหรือที่บ้าน ลองหาถังขยะเล็ก ๆ ส่วนตัวมาทดลองแยกขยะก่อนทิ้ง แล้วคุณจะรู้ว่าสิ่งที่คุณทิ้งลงไปนั้นไม่ใช่ขยะเลย เพราะสามารถนำไปใช้ใหม่ หรือขายให้โรงงานรีไซเคิลได้ ช่วยประหยัดทรัพยากร และลดก๊าซเรือนกระจกได้อีกจำนวนมาก เมื่อลองคุณ 365 วัน กับจำนวนปีที่เหลือก่อนเกษียณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น