วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

80 วิธีลดโลกร้อน (ตอน 2)

21. ยืด อายุตู้เย็นด้วยการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงานให้ตู้เย็นด้วยการใช้อย่างฉลาด ไม่นำอาหารร้อนเข้าตู้เย็น หลีกเลี่ยงการนำถุงพลาสติกใส่ของในตู้เย็นเพราะจะทำให้ตู้เย็นจ่ายความเย็น ได้ไม่ทั่วถึงอาหาร ควรย้ายตู่เย็นออกจากห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ ละลายน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็น เป็นประจำเพราะ ตู้เย็นจะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งเกาะ และทำความสะอาดตู้เย็นทุกสัปดาห์

22. ริเริ่มใช้พลังงานทางเลือกในอาคารสำนักงาน เช่น ติดตั้งแผงโซลาร์เซล เพื่อใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเฉพาะจุด

23. ใช้แสงแดดให้เป็นประโยชน์ ในการตากเสื้อผ้าที่ซักแล้วให้แห้ง ไม่ควรใช้เครื่องปั่นผ้าแห้งหากไม่จำเป็น เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า

24. ใช้ น้ำประปาอย่างประหยัด เพราะระบบการผลิตน้ำประปาของเทศบาลต่าง ๆ ต้องใช้พลังงาน จำนวนมากในการทำให้น้ำสะอาดและดำเนินการจัดส่งไปยังอาคารบ้านเรือน

25. ติดตั้งฝักบัวอาบน้ำที่ปรับความแรงน้ำต่ำ ๆ ได้ เพื่อจะได้เปลืองน้ำอุ่นน้อยลง (เหมาะทั้งในบ้านและโรงแรม)

26. ติด ตั้งเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าและลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้น จากโรงผลิตกระแสไฟฟ้า

27. สร้าง นโยบาย 3 Rs- Reduce, Reuse, Recycle ทั้งในบ้านและอาคารสำนักงาน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เป็นการลดพลังงานในการกำจัดขยะ ลดมลพิษและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการกำจัด

28. ป้องกัน การปล่อยก๊าซมีเธนสู่บรรยากาศ ด้วยการแยกขยะอินทรีย์ เช่น เศษผัก เศษอาหาร ออกจากขยะอื่น ๆ เป็นการลดปริมาณขยะและแยกขยะอื่น ๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

29. ทาหลังคาบ้านด้วยสีอ่อน เพื่อช่วยลดการดูดซับความร้อน

30. นำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารบ้านเรือน โดยใช้การออกแบบบ้าน

31. ปลูกต้นไม้ ในสวนหน้าบ้าน ต้นไม้ 1 ต้นจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน

32. ปลูกไผ่แทนรั้ว ต้นไผ่เติบโตเร็ว เป็นรั้วธรรมชาติที่สวยงาม และยังดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี

33. ใช้ ร่มเงาจากต้นไม้ช่วยลดความร้อน ในตัวอาคารสำนักงาน หรือบ้านพักอาศัย ทำให้สามารถลดความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศ เป็นการลดการใช้ไฟฟ้า

34. ไม่ ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนไม้ประดับที่บ้าน เมื่อต้องการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้ไม้ดอกไม้ใบเจริญงอกงาม ออกดอกสีสดและใบเขียวงาม ขอให้เลือกใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ หรืออาจทำขึ้นมาเองโดยการหมักเศษพืช เศษผักผลไม้ที่เก็บมากจากในสวนนั้น หรือจากในครัวที่แม่บ้านแยกขยะย่อยสลายได้ออกมาแล้วจากขยะอื่น ๆ ระหว่างประกอบอาหาร

35. ลด ปริมาณการใช้ถุงพลาสติก ถุงพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ การเผากำจัด ในเตาเผาขยะอย่างถูกวิธีต้องใช้พลังงานจำนวนมากที่ทำให้มีก๊าซเรือนกระจก เพิ่มในบรรยากาศหันมาใช้ ถุงผ้าหรือหิ้วตะกร้าไปซื้อของ โดยปฏิเสธพนักงานประจำร้านที่จะใส่ของในถุงพลาสติกให้อย่างฟุ่มเฟือย

36. เลือก ซื้อสินค้าที่มีหีบห่อน้อย ๆ หีบห่อหลายชั้นหมายถึง การเพิ่มขยะอีกหลายชั้นที่จะต้องนำไปกำจัด เป็นการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศโดยไม่จำเป็น

37. เลือก ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเติมใหม่ได้ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีกล่องบรรจุที่เมื่อใช้สินค้าหมดแล้ว ก็สามารถหาซื้อเฉพาะตัวสินค้ามาเติมในกล่องบรรจุเดิมได้เลย เป็นการลดขยะจากหีบห่อของบรรจุภัณฑ์

38. ใช้ กระดาษทั้ง 2 หน้า กระบวนการผลิตกระดาษเริ่มต้นตั้งแต่การตัดต้นไม้ ขนส่งมายังโรงเลื่อย ส่งไปยังโรงงานทำกระดาษ ตัด ปั่น ฟอกสี ทำแผ่น อบให้แห้ง หีบห่อ ก่อนจะขนส่งมาถึงร้านค้าต่าง ๆ แทบทุกขั้นตอนใช้พลังงานจากน้ำมันและไฟฟ้าจำนวนมาก เพราะฉะนั้นจงใช้มันอย่างคุ้มค่าทั้ง 2 ด้าน

39. เลือก ใช้กระดาษรีไซเคิล กระดาษรีไซเคิลลดขั้นตอนหลายขั้นตอนในกระบวนการผลิตกระดาษ แม้จะมีราคาแพงกว่าแต่ถ้ามีความต้องการจากผู้บริโภคจำนวนมาก ๆ กลไกการตลาดก็จะช่วยให้ราคาสินค้าลดลงมาได้

40. ตั้ง เป้าลดการผลิตขยะของตัวเองให้ได้ 1 ใน 4 ส่วนหรือมากกว่า ในที่ทำงานหรือที่บ้าน ลองหาถังขยะเล็ก ๆ ส่วนตัวมาทดลองแยกขยะก่อนทิ้ง แล้วคุณจะรู้ว่าสิ่งที่คุณทิ้งลงไปนั้นไม่ใช่ขยะเลย เพราะสามารถนำไปใช้ใหม่ หรือขายให้โรงงานรีไซเคิลได้ ช่วยประหยัดทรัพยากร และลดก๊าซเรือนกระจกได้อีกจำนวนมาก เมื่อลองคุณ 365 วัน กับจำนวนปีที่เหลือก่อนเกษียณ

80 วิธีลดโลกร้อน (ตอน 1)


1. ลด การใช้พลังงานในบ้าน ด้วยการปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ได้ใช้งาน จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับ 1,000 ปอนด์ต่อปี
2. ลด การสูญเสียพลังงานในโหมดสแตนด์บาย เครื่องเสียงระบบไฮ-ไฟ โทรทัศน์ เครื่องบันทึกวิดีโอ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและอุปกรณ์พ่วงต่างๆ ที่ติดมาด้วย จะยังคงมีการใช้ไฟฟ้าแม้ยังอยู่ในโหมด สแตนด์บาย ประหยัดไฟฟ้าและค่าไฟด้วยการดึงปลั๊กออก หรือใช้ปลั๊กเสียบพ่วงที่ตัดไฟด้วยตัวเอง
3. เปลี่ยน หลอดไฟ เป็นหลอดไฟประหยัดพลังงานแบบขดที่เรียกว่า compact fluorescent (CFL) แม้อาจจะมีราคาแพงกว่าหลอดแบบเดิม 3-5 เท่าแต่จะกินไฟเพียง 1 ใน 4 ของหลอดไฟแบบเดิม และมีอายุการใช้งานได้นานกว่าหลายปีมาก แต่เมื่อใช้งานหมดอายุแล้วจำเป็นต้องแยกทิ้งหลอดไฟในถังรีไซเคิลเฉพาะ เพราะตัวหลอดยังมีปรอทเคลือบอยู่ราวๆ 5 มิลลิกรัม
4. เปลี่ยน ไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่า และประหยัดกว่าหลอดปกติ 40% สามารถหาซื้อหลอดไฟ LED ที่ใช้สำหรับโคมไฟตั้งโต๊ะและตั้งพื้นได้ด้วย จะเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการให้มีแสงสว่างส่องทาง เช่น ริมถนนหน้าบ้าน การเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดไส้ จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 150 ปอนด์ต่อปี
5. ช่วย กันออกความเห็นหรือรณรงค์ ให้รัฐบาลพิจารณาข้อดีข้อเสียของการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนกับ ภาคการผลิต ตามอัตราการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลรูปแบบต่างๆ หรือการใช้ก๊าซโซลีนเป็นรูปแบบการใช้ภาษีทางตรงที่เชื่อว่า หากโรงงานต้องจ่ายค่าภาษีแพงขึ้นก็จะลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ในกระบวนการผลิตลง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการปล่อย CO2 ลงได้ประมาณ 5 %
6. ไป ร่วมกันประหยัดน้ำมันแบบ Car Pool นัดเพื่อนร่วมงานที่มีบ้านอาศัยใกล้ๆ นั่งรถยนต์ไปทำงานด้วยกัน ช่วยประหยัดน้ำมันและยังเป็นการลดจำนวนรถติดบนถนน ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทางอ้อมด้วย
7. ขับ รถยนต์ส่วนตัวให้น้อยลง ด้วยการปั่นจักรยานใช้รถโดยสารประจำทาง หรือใช้การเดินแทนเมื่อต้องการไปทำกิจกรรมหรือธุระใกล้ๆ บ้าน การขับรถยนต์น้อยลงหมายถึงการใช้น้ำมันลดลง และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะน้ำมันทุกๆ แกลลอนที่ประหยัดได้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ 20 ปอนด์
8. จัด เส้นทางรถรับส่งพนักงาน ถ้าในหน่วยงานมีพนักงานจำนวนมากอาศัยอยู่ในเส้นทางใกล้ๆ กัน ควรมีสวัสดิการจัดหารถรับส่งพนักงานตามเส้นทางสำคัญๆ เป็น Car Pool ระดับองค์กร
9. เปิด หน้าต่างรับลมแทนเปิดเครื่องปรับอากาศ ลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้ไฟฟ้า เพื่อเปิดเครื่องปรับอากาศ ด้วยการเปิดหน้าต่างบ้านรับลมบ้าง โดยเฉพาะในหน้าหนาวหรือหน้าฝน ที่อากาศภายนอกเย็นกว่าฤดูอื่นๆ กลัวยุงและแมลงก็ติดมุ้งลวดที่หน้าต่างเสียเลยหลายครั้งที่เรา จะพบว่าโรงแรมและบ้านพักหลายแห่งที่อยู่ติดทะเลมีห้องพักที่ใช้พัดลมกับห้อง พักมีเครื่องปรับอากาศ ให้เลือก เลือกพักห้องพัดลมจะดีกว่า ได้นอนฟังเสียงคลื่นพร้อมกับใช้ไฟฟ้าน้อยลง
10. มอง หาผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ครั้งต่อไปเมื่อจะซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ มองหาป้ายสัญลักษณ์ เช่น ป้ายฉลากเขียวประหยัดไฟเบอร์ 5 มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพราะการจะได้ใบรับรองนั้นจะต้องมีการประเมินสินค้าตั้งแต่เริ่มต้นหาวัตถุ ดิบ
11. ไป ตลาดสดแทนซุปเปอร์มาเก็ตบ้าง ซื้อผักผลไม้ หมู ไก่ ปลา ในตลาดสดใกล้บ้านแทนการช้อปปิ้ง ในซุปเปอร์มาเก็ตบ้าง ที่อาหารสดทุกอย่างมีการหีบห่อด้วยพลาสติกและโฟมทำให้เกิดขยะจำนวนมากลอง หิ้วตระกร้าหรือถุงผ้าไปจ่ายตลาดดูบ้าง
12. เลือก ซื้อเลือกใช้ เมื่อต้องซื้อรถยนต์ใช้ในบ้านหรือรถยนต์ประจำสำนักงานก็หันมาเลือกซื้อรถ ประหยัดพลังงาน รวมทั้งเลือกอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟ ทั้งในบ้านและอาคารสำนักงาน
13. เลือก ซื้อรถยนต์ที่มีขนาดตามความจำเป็น โดยพิจารณาจากขนาดครอบครัวและประโยชน์การใช้งาน ได้ขนาดแล้วก็พิจารณารุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเพื่อเปรียบ เทียบราคา อาจลองใช้การจัดอันดับรถเพื่อสิ่งแวดล้อม
14. ไม่ จำเป็นก็ไม่ต้องเลือก รถโฟว์วีลขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อกินน้ำมันมาก ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าเลือกซื้อใช้ ตะแกรงขนสัมภาระบนหลังคารถ ก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพราะเป็นการเพิ่มน้ำหนักรถให้เปลืองน้ำมัน ยกเว้นจะเลือกแบบที่ถอดเข้าออกได้เผื่อจำเป็นต้องใช้งาน
15. ขับ รถอย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะทางไกลการขับรถ ด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะช่วยลดการใช้น้ำมันลงได้ 20 % หรือคิดเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้ 1 ตันต่อรถยนต์แต่ละคันที่ ใช้งานราว 30,000 กิโลเมตรต่อปี
16. ขับ รถเร็วเที่ยวไปลดคาร์บอนไดออกไซด์ไปพร้อมกัน แม้จะอยู่ในช่วงลาพักร้อนไปเที่ยวต่างประเทศ เลือกเช่ารถรุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใช้เอธานอลหรือน้ำมันเชื้อ เพลิงทางเลือกอื่นๆ ด้วย ลองสอบถามบริษัทรถเช่าเมื่อเดินทางไปถึง
17. เลือก ใช้บริการโรงแรมที่มีสัญลักษณ์สิ่งแวดล้อม ปัจจุบันโรงแรมหลายแห่งมีบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น มีมาตรการประหยัดน้ำ ประหยัดพลังงาน และมีระบบจัดการของเสีย มองหาป้ายสัญลักษณ์ เช่น โรงแรมใบไม้สีเขียว มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพ
18. เช็คลมยาง การขับรถที่ลมยางอ่อนอาจทำให้เปลืองน้ำมันได้ถึง 3 %
19. เปลี่ยนมาใช้พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล เอธานอลให้มากขึ้น
20. โล๊ะ ทิ้งตู้เย็นรุ่นเก่า ตู้เย็นที่ผลิตเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ใช้ไฟฟ้ามากเป็น 2 เท่าของตู้เย็นสมัยใหม่ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟลงได้มาก และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 100 กิโลกรัมต่อปี

การลด e-Waste


e-Wasteหรือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นของเหลือใช้ซึ่งประกอบด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งชิ้นส่วนหลายชิ้นของอุปกรณ์เหล่านี้เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีธาตุบางชนิดที่เป็นพิษ ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียมและกำมะถัน จอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมีตะกั่วเป็นองค์ประกอบสูงถึง ร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นปัญหาใหญ่สำหรับหลายประเทศทั่วโลกเนื่องจากสินค้าพวก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมีอายุการใช้งานที่ไม่นานอาจจะ ประมาณ 3-4 ปีเท่านั้นและราคาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ก็มีราคาถูกทำให้ขยะ อิเล็กทรอนิกส์ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นทั่วโลก ดังนั้นหลายประเทศทั่วโลกได้มีการตระหนักในการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์โดย บางประเทศในเอเชียได้ออกกฎหมายรีไซเคิลคอมพิวเตอร์แห่งชาติและนอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลายบริษัทได้มีการพัฒนาสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีการตั้งจุดรับคืนสินค้าที่หมด อายุเพื่อนำไปรีไซเคิลอีกด้วย ผู้บริหารองค์กรและพนักงานภายในองค์กรก็สามารถมีส่วนช่วยลดปัญหาขยะ อิเล็กทรอนิกส์ได้ดังนี้

1. มีการวางแผนในการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในองค์กรโดยที่เลือก ใช้จอคอมพิวเตอร์แบบแบนซึ่งจะประหยัดไฟมากกว่าจอโค้งถึงร้อยละ 60 รวมถึงช่วยถนอมสายตาและง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ใช้คอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Notebook) จะช่วยประหยัดไฟได้มากกว่าคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะถึง 1 ใน 4 เท่า ใช้เครื่องพิมพ์แบบหมึกพ่น (Inkjet printer) ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser printer) ถึงร้อยละ 90 ใช้เครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์กระดาษได้สองหน้าเพราะการพิมพ์กระดาษทีเดียว สองหน้าจะช่วยประหยัดพลังงาน เลือกใช้อุปกรณ์ที่เป็น All-in-one ที่เป็นได้ทั้งเครื่องพิมพ์ โทรสาร เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องสแกนในตัว

2. เลือกซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

3. กำหนดแนวทางในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงโดยควรใช้ความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่พอเหมาะและควรปิดสวิทซ์จอภาพ เมื่อไม่ได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อีกนานประมาณ 30 นาทีขึ้นไปควรพิมพ์สีตามความจำเป็นจริงๆ เพราะการพิมพ์สีเปลื้องพลังงานมากกว่าการพิมพ์ขาวดำ ไม่พิมพ์เอกสารออกมาทางกระดาษโดยไม่จำเป็นควรใช้การรับส่งข้อมูลทางเครือ ข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ควรปิดเครื่องและถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งานเพราะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นตัว ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

4. เข้าร่วมโครงการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกวิธีโดยเข้าร่วมโครงการรีไซเคิลของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ไม่ใช้แล้วให้กับโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

ม.อ. ห่วงป่าพรุเสื่อมโทรม


มอ.ดันทะเลสาบสงขลาขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม ทำวิถีชีวิตคนในพื้นที่เปลี่ยน แนะรัฐเร่งกำหนดนโยบายฯ ให้คงสภาพพื้นที่ชุ่มน้ำ...

รอง ศาสตราจารย์ ดร.นพรัตน์ บำรุงรักษ์ นักวิชาการจากสถาบันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) กล่าวว่า จากการลงสำรวจพื้นที่สภาพป่าพรุควนเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในลุ่มแม่น้ำทะเลสาบสงขลา ที่มีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุงและสงขลา พบว่าระบบนิเวศน์ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งรับน้ำมีความเสี่ยงสูงที่ถูกทำลาย เนื่องจากการรุกล้ำพื้นที่ของป่าพรุของกลุ่มเกษตรกร เพื่อนำพื้นที่ไปทำการเกษตรกรรม

ทั้งนี้ กลุ่มเกษตรกรที่รุกล้ำพื้นที่เพื่อเพาะปลูกปาล์ม ได้ทำการขุดคูย้ายดินยกร่องน้ำให้สูง รวมถึงการขุดคลองชลประทานสายชะอวด-แพรกเมือง และการขุดลอกคลองไส้ไก่ เพื่อใช้ในการเกษตร ทำให้ปริมาณน้ำไหลลงสู่คูที่มีระดับต่ำกว่า ส่งผลต่อระบบนิเวศน์ โดยปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ป่าพรุลดลง ทำให้ระบบนิเวศน์ของพืช สัตว์ แหล่งเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำได้รับความเสียหาย เกิดไฟไหม้พรุในฤดูกาลที่น้ำใต้ดินลดต่ำ นอกจากนี้ ยังส่งผลการเจริญเติบโตของต้นกระจูด ที่เป็นแหล่งวัตถุดิบของอุตสาหกรรมครัวเรือน ที่กลุ่มชาวบ้านใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื่อ ทำใบเรือ และทำกระสอบบรรจุสินค้าเกษตร ถูกทำลายลง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่น่าเป็นกังวลว่า อาจจะทำให้ไม่สามารถขึ้นทะเบียนทะเลสาบสงขลาเป็นมรดกโลกทางนิเวศวัฒนธรรมได้

นักวิชาการจากสถาบันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และคณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. กล่าวด้วยว่า ภาครัฐควรเร่งกำหนดนโยบายที่ชัดเจนต่อการอนุรักษ์ป่าพรุควนเคร็ง ให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำหรือเลือกพัฒนาให้เป็นพื้นที่เพื่อเกษตรกรรม ที่ต้องศึกษาปริมาณน้ำในพื้นที่รับน้ำของป่าพรุ และสร้างกลไกในการประสานกับหน่วยงานการเปิดปิดประตูระบายน้ำ เพื่อรักษาระดับน้ำใต้ดินให้อยู่ใกล้ผิวดินตลอดทั้งปี เพื่อคงสภาพป่าพรุควนเคร็งที่เป็นแหล่งระบบนิเวศน์ของพืช สัตว์และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำไว้ให้ได้

ปัญหาระบบนิเวศน์ที่เกิด ขึ้นของป่าพรุควนเคร็ง เกิดจากการการรุกล้ำพื้นที่เพื่อทำเกษตรกรรมของชาวบ้าน ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ป่าพรุลดลง จนอาจก่อให้เกิดปัญหาไฟป่า เหมือนเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ที่ได้ทำลายระบบนิเวศน์ในพื้นที่นับพันไร่ ดังนั้น ภาครัฐตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขและใช้หลัก การบริหารการจัดการที่ดีเพื่อเยียวยาระบบนิเวศน์ของป่าพรุควนเคร็งให้กลับ คืนสภาพดังเดิมรองศาสตราจารย์ ดร.นพรัตน์ กล่าว