วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

80 วิธีลดโลกร้อน (ตอน 2)

21. ยืด อายุตู้เย็นด้วยการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงานให้ตู้เย็นด้วยการใช้อย่างฉลาด ไม่นำอาหารร้อนเข้าตู้เย็น หลีกเลี่ยงการนำถุงพลาสติกใส่ของในตู้เย็นเพราะจะทำให้ตู้เย็นจ่ายความเย็น ได้ไม่ทั่วถึงอาหาร ควรย้ายตู่เย็นออกจากห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ ละลายน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็น เป็นประจำเพราะ ตู้เย็นจะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งเกาะ และทำความสะอาดตู้เย็นทุกสัปดาห์

22. ริเริ่มใช้พลังงานทางเลือกในอาคารสำนักงาน เช่น ติดตั้งแผงโซลาร์เซล เพื่อใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเฉพาะจุด

23. ใช้แสงแดดให้เป็นประโยชน์ ในการตากเสื้อผ้าที่ซักแล้วให้แห้ง ไม่ควรใช้เครื่องปั่นผ้าแห้งหากไม่จำเป็น เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า

24. ใช้ น้ำประปาอย่างประหยัด เพราะระบบการผลิตน้ำประปาของเทศบาลต่าง ๆ ต้องใช้พลังงาน จำนวนมากในการทำให้น้ำสะอาดและดำเนินการจัดส่งไปยังอาคารบ้านเรือน

25. ติดตั้งฝักบัวอาบน้ำที่ปรับความแรงน้ำต่ำ ๆ ได้ เพื่อจะได้เปลืองน้ำอุ่นน้อยลง (เหมาะทั้งในบ้านและโรงแรม)

26. ติด ตั้งเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าและลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้น จากโรงผลิตกระแสไฟฟ้า

27. สร้าง นโยบาย 3 Rs- Reduce, Reuse, Recycle ทั้งในบ้านและอาคารสำนักงาน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เป็นการลดพลังงานในการกำจัดขยะ ลดมลพิษและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการกำจัด

28. ป้องกัน การปล่อยก๊าซมีเธนสู่บรรยากาศ ด้วยการแยกขยะอินทรีย์ เช่น เศษผัก เศษอาหาร ออกจากขยะอื่น ๆ เป็นการลดปริมาณขยะและแยกขยะอื่น ๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

29. ทาหลังคาบ้านด้วยสีอ่อน เพื่อช่วยลดการดูดซับความร้อน

30. นำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารบ้านเรือน โดยใช้การออกแบบบ้าน

31. ปลูกต้นไม้ ในสวนหน้าบ้าน ต้นไม้ 1 ต้นจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน

32. ปลูกไผ่แทนรั้ว ต้นไผ่เติบโตเร็ว เป็นรั้วธรรมชาติที่สวยงาม และยังดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี

33. ใช้ ร่มเงาจากต้นไม้ช่วยลดความร้อน ในตัวอาคารสำนักงาน หรือบ้านพักอาศัย ทำให้สามารถลดความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศ เป็นการลดการใช้ไฟฟ้า

34. ไม่ ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนไม้ประดับที่บ้าน เมื่อต้องการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้ไม้ดอกไม้ใบเจริญงอกงาม ออกดอกสีสดและใบเขียวงาม ขอให้เลือกใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ หรืออาจทำขึ้นมาเองโดยการหมักเศษพืช เศษผักผลไม้ที่เก็บมากจากในสวนนั้น หรือจากในครัวที่แม่บ้านแยกขยะย่อยสลายได้ออกมาแล้วจากขยะอื่น ๆ ระหว่างประกอบอาหาร

35. ลด ปริมาณการใช้ถุงพลาสติก ถุงพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ การเผากำจัด ในเตาเผาขยะอย่างถูกวิธีต้องใช้พลังงานจำนวนมากที่ทำให้มีก๊าซเรือนกระจก เพิ่มในบรรยากาศหันมาใช้ ถุงผ้าหรือหิ้วตะกร้าไปซื้อของ โดยปฏิเสธพนักงานประจำร้านที่จะใส่ของในถุงพลาสติกให้อย่างฟุ่มเฟือย

36. เลือก ซื้อสินค้าที่มีหีบห่อน้อย ๆ หีบห่อหลายชั้นหมายถึง การเพิ่มขยะอีกหลายชั้นที่จะต้องนำไปกำจัด เป็นการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศโดยไม่จำเป็น

37. เลือก ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเติมใหม่ได้ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีกล่องบรรจุที่เมื่อใช้สินค้าหมดแล้ว ก็สามารถหาซื้อเฉพาะตัวสินค้ามาเติมในกล่องบรรจุเดิมได้เลย เป็นการลดขยะจากหีบห่อของบรรจุภัณฑ์

38. ใช้ กระดาษทั้ง 2 หน้า กระบวนการผลิตกระดาษเริ่มต้นตั้งแต่การตัดต้นไม้ ขนส่งมายังโรงเลื่อย ส่งไปยังโรงงานทำกระดาษ ตัด ปั่น ฟอกสี ทำแผ่น อบให้แห้ง หีบห่อ ก่อนจะขนส่งมาถึงร้านค้าต่าง ๆ แทบทุกขั้นตอนใช้พลังงานจากน้ำมันและไฟฟ้าจำนวนมาก เพราะฉะนั้นจงใช้มันอย่างคุ้มค่าทั้ง 2 ด้าน

39. เลือก ใช้กระดาษรีไซเคิล กระดาษรีไซเคิลลดขั้นตอนหลายขั้นตอนในกระบวนการผลิตกระดาษ แม้จะมีราคาแพงกว่าแต่ถ้ามีความต้องการจากผู้บริโภคจำนวนมาก ๆ กลไกการตลาดก็จะช่วยให้ราคาสินค้าลดลงมาได้

40. ตั้ง เป้าลดการผลิตขยะของตัวเองให้ได้ 1 ใน 4 ส่วนหรือมากกว่า ในที่ทำงานหรือที่บ้าน ลองหาถังขยะเล็ก ๆ ส่วนตัวมาทดลองแยกขยะก่อนทิ้ง แล้วคุณจะรู้ว่าสิ่งที่คุณทิ้งลงไปนั้นไม่ใช่ขยะเลย เพราะสามารถนำไปใช้ใหม่ หรือขายให้โรงงานรีไซเคิลได้ ช่วยประหยัดทรัพยากร และลดก๊าซเรือนกระจกได้อีกจำนวนมาก เมื่อลองคุณ 365 วัน กับจำนวนปีที่เหลือก่อนเกษียณ

80 วิธีลดโลกร้อน (ตอน 1)


1. ลด การใช้พลังงานในบ้าน ด้วยการปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ได้ใช้งาน จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับ 1,000 ปอนด์ต่อปี
2. ลด การสูญเสียพลังงานในโหมดสแตนด์บาย เครื่องเสียงระบบไฮ-ไฟ โทรทัศน์ เครื่องบันทึกวิดีโอ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและอุปกรณ์พ่วงต่างๆ ที่ติดมาด้วย จะยังคงมีการใช้ไฟฟ้าแม้ยังอยู่ในโหมด สแตนด์บาย ประหยัดไฟฟ้าและค่าไฟด้วยการดึงปลั๊กออก หรือใช้ปลั๊กเสียบพ่วงที่ตัดไฟด้วยตัวเอง
3. เปลี่ยน หลอดไฟ เป็นหลอดไฟประหยัดพลังงานแบบขดที่เรียกว่า compact fluorescent (CFL) แม้อาจจะมีราคาแพงกว่าหลอดแบบเดิม 3-5 เท่าแต่จะกินไฟเพียง 1 ใน 4 ของหลอดไฟแบบเดิม และมีอายุการใช้งานได้นานกว่าหลายปีมาก แต่เมื่อใช้งานหมดอายุแล้วจำเป็นต้องแยกทิ้งหลอดไฟในถังรีไซเคิลเฉพาะ เพราะตัวหลอดยังมีปรอทเคลือบอยู่ราวๆ 5 มิลลิกรัม
4. เปลี่ยน ไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่า และประหยัดกว่าหลอดปกติ 40% สามารถหาซื้อหลอดไฟ LED ที่ใช้สำหรับโคมไฟตั้งโต๊ะและตั้งพื้นได้ด้วย จะเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการให้มีแสงสว่างส่องทาง เช่น ริมถนนหน้าบ้าน การเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดไส้ จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 150 ปอนด์ต่อปี
5. ช่วย กันออกความเห็นหรือรณรงค์ ให้รัฐบาลพิจารณาข้อดีข้อเสียของการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนกับ ภาคการผลิต ตามอัตราการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลรูปแบบต่างๆ หรือการใช้ก๊าซโซลีนเป็นรูปแบบการใช้ภาษีทางตรงที่เชื่อว่า หากโรงงานต้องจ่ายค่าภาษีแพงขึ้นก็จะลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ในกระบวนการผลิตลง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการปล่อย CO2 ลงได้ประมาณ 5 %
6. ไป ร่วมกันประหยัดน้ำมันแบบ Car Pool นัดเพื่อนร่วมงานที่มีบ้านอาศัยใกล้ๆ นั่งรถยนต์ไปทำงานด้วยกัน ช่วยประหยัดน้ำมันและยังเป็นการลดจำนวนรถติดบนถนน ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทางอ้อมด้วย
7. ขับ รถยนต์ส่วนตัวให้น้อยลง ด้วยการปั่นจักรยานใช้รถโดยสารประจำทาง หรือใช้การเดินแทนเมื่อต้องการไปทำกิจกรรมหรือธุระใกล้ๆ บ้าน การขับรถยนต์น้อยลงหมายถึงการใช้น้ำมันลดลง และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะน้ำมันทุกๆ แกลลอนที่ประหยัดได้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ 20 ปอนด์
8. จัด เส้นทางรถรับส่งพนักงาน ถ้าในหน่วยงานมีพนักงานจำนวนมากอาศัยอยู่ในเส้นทางใกล้ๆ กัน ควรมีสวัสดิการจัดหารถรับส่งพนักงานตามเส้นทางสำคัญๆ เป็น Car Pool ระดับองค์กร
9. เปิด หน้าต่างรับลมแทนเปิดเครื่องปรับอากาศ ลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้ไฟฟ้า เพื่อเปิดเครื่องปรับอากาศ ด้วยการเปิดหน้าต่างบ้านรับลมบ้าง โดยเฉพาะในหน้าหนาวหรือหน้าฝน ที่อากาศภายนอกเย็นกว่าฤดูอื่นๆ กลัวยุงและแมลงก็ติดมุ้งลวดที่หน้าต่างเสียเลยหลายครั้งที่เรา จะพบว่าโรงแรมและบ้านพักหลายแห่งที่อยู่ติดทะเลมีห้องพักที่ใช้พัดลมกับห้อง พักมีเครื่องปรับอากาศ ให้เลือก เลือกพักห้องพัดลมจะดีกว่า ได้นอนฟังเสียงคลื่นพร้อมกับใช้ไฟฟ้าน้อยลง
10. มอง หาผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ครั้งต่อไปเมื่อจะซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ มองหาป้ายสัญลักษณ์ เช่น ป้ายฉลากเขียวประหยัดไฟเบอร์ 5 มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพราะการจะได้ใบรับรองนั้นจะต้องมีการประเมินสินค้าตั้งแต่เริ่มต้นหาวัตถุ ดิบ
11. ไป ตลาดสดแทนซุปเปอร์มาเก็ตบ้าง ซื้อผักผลไม้ หมู ไก่ ปลา ในตลาดสดใกล้บ้านแทนการช้อปปิ้ง ในซุปเปอร์มาเก็ตบ้าง ที่อาหารสดทุกอย่างมีการหีบห่อด้วยพลาสติกและโฟมทำให้เกิดขยะจำนวนมากลอง หิ้วตระกร้าหรือถุงผ้าไปจ่ายตลาดดูบ้าง
12. เลือก ซื้อเลือกใช้ เมื่อต้องซื้อรถยนต์ใช้ในบ้านหรือรถยนต์ประจำสำนักงานก็หันมาเลือกซื้อรถ ประหยัดพลังงาน รวมทั้งเลือกอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟ ทั้งในบ้านและอาคารสำนักงาน
13. เลือก ซื้อรถยนต์ที่มีขนาดตามความจำเป็น โดยพิจารณาจากขนาดครอบครัวและประโยชน์การใช้งาน ได้ขนาดแล้วก็พิจารณารุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเพื่อเปรียบ เทียบราคา อาจลองใช้การจัดอันดับรถเพื่อสิ่งแวดล้อม
14. ไม่ จำเป็นก็ไม่ต้องเลือก รถโฟว์วีลขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อกินน้ำมันมาก ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าเลือกซื้อใช้ ตะแกรงขนสัมภาระบนหลังคารถ ก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพราะเป็นการเพิ่มน้ำหนักรถให้เปลืองน้ำมัน ยกเว้นจะเลือกแบบที่ถอดเข้าออกได้เผื่อจำเป็นต้องใช้งาน
15. ขับ รถอย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะทางไกลการขับรถ ด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะช่วยลดการใช้น้ำมันลงได้ 20 % หรือคิดเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้ 1 ตันต่อรถยนต์แต่ละคันที่ ใช้งานราว 30,000 กิโลเมตรต่อปี
16. ขับ รถเร็วเที่ยวไปลดคาร์บอนไดออกไซด์ไปพร้อมกัน แม้จะอยู่ในช่วงลาพักร้อนไปเที่ยวต่างประเทศ เลือกเช่ารถรุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใช้เอธานอลหรือน้ำมันเชื้อ เพลิงทางเลือกอื่นๆ ด้วย ลองสอบถามบริษัทรถเช่าเมื่อเดินทางไปถึง
17. เลือก ใช้บริการโรงแรมที่มีสัญลักษณ์สิ่งแวดล้อม ปัจจุบันโรงแรมหลายแห่งมีบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น มีมาตรการประหยัดน้ำ ประหยัดพลังงาน และมีระบบจัดการของเสีย มองหาป้ายสัญลักษณ์ เช่น โรงแรมใบไม้สีเขียว มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพ
18. เช็คลมยาง การขับรถที่ลมยางอ่อนอาจทำให้เปลืองน้ำมันได้ถึง 3 %
19. เปลี่ยนมาใช้พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล เอธานอลให้มากขึ้น
20. โล๊ะ ทิ้งตู้เย็นรุ่นเก่า ตู้เย็นที่ผลิตเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ใช้ไฟฟ้ามากเป็น 2 เท่าของตู้เย็นสมัยใหม่ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟลงได้มาก และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 100 กิโลกรัมต่อปี

การลด e-Waste


e-Wasteหรือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นของเหลือใช้ซึ่งประกอบด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งชิ้นส่วนหลายชิ้นของอุปกรณ์เหล่านี้เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีธาตุบางชนิดที่เป็นพิษ ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียมและกำมะถัน จอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมีตะกั่วเป็นองค์ประกอบสูงถึง ร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นปัญหาใหญ่สำหรับหลายประเทศทั่วโลกเนื่องจากสินค้าพวก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมีอายุการใช้งานที่ไม่นานอาจจะ ประมาณ 3-4 ปีเท่านั้นและราคาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ก็มีราคาถูกทำให้ขยะ อิเล็กทรอนิกส์ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นทั่วโลก ดังนั้นหลายประเทศทั่วโลกได้มีการตระหนักในการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์โดย บางประเทศในเอเชียได้ออกกฎหมายรีไซเคิลคอมพิวเตอร์แห่งชาติและนอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลายบริษัทได้มีการพัฒนาสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีการตั้งจุดรับคืนสินค้าที่หมด อายุเพื่อนำไปรีไซเคิลอีกด้วย ผู้บริหารองค์กรและพนักงานภายในองค์กรก็สามารถมีส่วนช่วยลดปัญหาขยะ อิเล็กทรอนิกส์ได้ดังนี้

1. มีการวางแผนในการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในองค์กรโดยที่เลือก ใช้จอคอมพิวเตอร์แบบแบนซึ่งจะประหยัดไฟมากกว่าจอโค้งถึงร้อยละ 60 รวมถึงช่วยถนอมสายตาและง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ใช้คอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Notebook) จะช่วยประหยัดไฟได้มากกว่าคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะถึง 1 ใน 4 เท่า ใช้เครื่องพิมพ์แบบหมึกพ่น (Inkjet printer) ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser printer) ถึงร้อยละ 90 ใช้เครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์กระดาษได้สองหน้าเพราะการพิมพ์กระดาษทีเดียว สองหน้าจะช่วยประหยัดพลังงาน เลือกใช้อุปกรณ์ที่เป็น All-in-one ที่เป็นได้ทั้งเครื่องพิมพ์ โทรสาร เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องสแกนในตัว

2. เลือกซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

3. กำหนดแนวทางในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงโดยควรใช้ความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่พอเหมาะและควรปิดสวิทซ์จอภาพ เมื่อไม่ได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อีกนานประมาณ 30 นาทีขึ้นไปควรพิมพ์สีตามความจำเป็นจริงๆ เพราะการพิมพ์สีเปลื้องพลังงานมากกว่าการพิมพ์ขาวดำ ไม่พิมพ์เอกสารออกมาทางกระดาษโดยไม่จำเป็นควรใช้การรับส่งข้อมูลทางเครือ ข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ควรปิดเครื่องและถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งานเพราะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นตัว ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

4. เข้าร่วมโครงการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกวิธีโดยเข้าร่วมโครงการรีไซเคิลของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ไม่ใช้แล้วให้กับโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

ม.อ. ห่วงป่าพรุเสื่อมโทรม


มอ.ดันทะเลสาบสงขลาขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม ทำวิถีชีวิตคนในพื้นที่เปลี่ยน แนะรัฐเร่งกำหนดนโยบายฯ ให้คงสภาพพื้นที่ชุ่มน้ำ...

รอง ศาสตราจารย์ ดร.นพรัตน์ บำรุงรักษ์ นักวิชาการจากสถาบันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) กล่าวว่า จากการลงสำรวจพื้นที่สภาพป่าพรุควนเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในลุ่มแม่น้ำทะเลสาบสงขลา ที่มีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุงและสงขลา พบว่าระบบนิเวศน์ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งรับน้ำมีความเสี่ยงสูงที่ถูกทำลาย เนื่องจากการรุกล้ำพื้นที่ของป่าพรุของกลุ่มเกษตรกร เพื่อนำพื้นที่ไปทำการเกษตรกรรม

ทั้งนี้ กลุ่มเกษตรกรที่รุกล้ำพื้นที่เพื่อเพาะปลูกปาล์ม ได้ทำการขุดคูย้ายดินยกร่องน้ำให้สูง รวมถึงการขุดคลองชลประทานสายชะอวด-แพรกเมือง และการขุดลอกคลองไส้ไก่ เพื่อใช้ในการเกษตร ทำให้ปริมาณน้ำไหลลงสู่คูที่มีระดับต่ำกว่า ส่งผลต่อระบบนิเวศน์ โดยปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ป่าพรุลดลง ทำให้ระบบนิเวศน์ของพืช สัตว์ แหล่งเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำได้รับความเสียหาย เกิดไฟไหม้พรุในฤดูกาลที่น้ำใต้ดินลดต่ำ นอกจากนี้ ยังส่งผลการเจริญเติบโตของต้นกระจูด ที่เป็นแหล่งวัตถุดิบของอุตสาหกรรมครัวเรือน ที่กลุ่มชาวบ้านใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื่อ ทำใบเรือ และทำกระสอบบรรจุสินค้าเกษตร ถูกทำลายลง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่น่าเป็นกังวลว่า อาจจะทำให้ไม่สามารถขึ้นทะเบียนทะเลสาบสงขลาเป็นมรดกโลกทางนิเวศวัฒนธรรมได้

นักวิชาการจากสถาบันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และคณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. กล่าวด้วยว่า ภาครัฐควรเร่งกำหนดนโยบายที่ชัดเจนต่อการอนุรักษ์ป่าพรุควนเคร็ง ให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำหรือเลือกพัฒนาให้เป็นพื้นที่เพื่อเกษตรกรรม ที่ต้องศึกษาปริมาณน้ำในพื้นที่รับน้ำของป่าพรุ และสร้างกลไกในการประสานกับหน่วยงานการเปิดปิดประตูระบายน้ำ เพื่อรักษาระดับน้ำใต้ดินให้อยู่ใกล้ผิวดินตลอดทั้งปี เพื่อคงสภาพป่าพรุควนเคร็งที่เป็นแหล่งระบบนิเวศน์ของพืช สัตว์และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำไว้ให้ได้

ปัญหาระบบนิเวศน์ที่เกิด ขึ้นของป่าพรุควนเคร็ง เกิดจากการการรุกล้ำพื้นที่เพื่อทำเกษตรกรรมของชาวบ้าน ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ป่าพรุลดลง จนอาจก่อให้เกิดปัญหาไฟป่า เหมือนเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ที่ได้ทำลายระบบนิเวศน์ในพื้นที่นับพันไร่ ดังนั้น ภาครัฐตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขและใช้หลัก การบริหารการจัดการที่ดีเพื่อเยียวยาระบบนิเวศน์ของป่าพรุควนเคร็งให้กลับ คืนสภาพดังเดิมรองศาสตราจารย์ ดร.นพรัตน์ กล่าว

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ภาวะโลกร้อนกับขยะ

การที่เราทิ้งขยะทุกประเภทรวมกันโดยไม่แยกนั้น ทำให้ขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ (Reuse) และขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ (Recycle) ถูกทิ้งรวมไปกับขยะเปียกทั้งหลาย และอาจจะไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก และที่อันตรายมากก็คือขยะที่เป็นสารพิษ พวกบรรจุภัณฑ์สารเคมี กระป๋องยาฉีดกันยุง พวกหลอดไฟซึ่งมีสารเคมีฉาบไว้ ถ่านไฟฉาย เหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมากๆ ถ้าเราเอาทิ้งไปรวมกับขยะอื่นๆโดยที่ไม่แยก สารเคมีก็จะไหลลงสู่พื้นดิน ถ้าถูกเผาก็จะเป็นก๊าซพิษลอยขึ้นไปในอากาศ หรือถ้าถูกฝั่ง กระบวนการย่อยสลายก็จะทำให้เกิดก๊าซพิษลอยขึ้นไปในอากาศ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อนด้วย
ในบ้านเรายังไม่มีกฎหมายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการแยกขยะ แต่ถ้าเราทุกคนช่วยกันทำก็คงจะดีต่อสิ่งแวดล้อม เวลาจะทิ้งก็ให้เราแยกระหว่าง ขยะเปียก แก้ว พลาสติก และขยะที่เป็นพิษ เวลาเขาเก็บไปจะได้สามารถนำไปกำจัดได้อย่างถูกวิธี
บรรจุภัณฑ์ประเภทแก้วนอกจากจะดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะว่าสามารถนำมารีไซเคิลได้ นอกจากนั้นยังดีต่อสุขภาพของเราอีกด้วย เพราะขวดแก้วจะไม่ทำปฏิกิริยาต่อสิ่งที่บรรจุอยู่ในนั้น ซึ่งหมายความว่ามันดีต่อสุขภาพของเรา และถือว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ของยุคภาวะโลกร้อนเลยทีเดียว
เรามาดูกันว่าอะไรย่อยสลายยากที่สุด
• โฟม 500 – 1,000 ปี
• ผ้าอ้อมสำเร็จรูป 500 ปี
• ถุงพลาสติก 100 – 450 ปี
• อะลูมิเนียม 80 – 100 ปี
• เครื่องหนัง 25 – 40 ปี
• ก้นบุหรี่ 12 ปี
• ถ้วยกระดาษเคลือบ 5 ปี
• เปลือกส้ม 6 เดือน
• เศษกระดาษ 2 – 5 เดือน
การที่เรานำของเก่ากลับมาใช้อีก และการรีไซเคิลนั้น สามารถลดการใช้พลังงานไปได้มาก เพราะฉะนั้นการแยกขยะให้เป็นประเภทและทิ้งให้ถูกวิธีนั้น ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถลดภาวะโลกร้อนได้

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

10 วิธีง่ายๆ ช่วยลดโลกร้อน

1. ใช้ถุงผ้า แทนถุงพลาสติก เป็นสิ่งที่คุณทำได้ง่าย ๆ และใกล้ตัวมากที่สุด โดยเลือกขนาดของถุงที่ผ้าแบบเก๋ ๆ ดีไซน์โดนใจคุณไว้สักหนึ่งใบ เวลาไปชอปปิ้งข้าวของเครื่องใช้ชิ้นเล็ก ๆ อย่างต่างหู เครื่องประดับ เสื้อผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย เมื่อซื้อเสร็จแล้วก็เอาใส่ถุงผ้าแทน ก็เป็นการช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกขนาดเล็ก และโฟมที่ใช้ในการบรรจุสินค้าได้เป็นจำนวนมาก

2. เปลี่ยนมาใช้ของมือสอง เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับบางชิ้นไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่เสมอ เพราะ สินค้าทุกชิ้นที่วางขายล้วนมีต้นทุนในการผลิตอย่างมหาศาล การซื้อแบบไม่ติดเบรก จึงเท่ากับกระตุ้นการผลิตและเร่งตักตวงใช้ทรัพยากรมากเกินไป ลองเปลี่ยนจากการซื้อของใหม่เป็นการซ่อมหรือใช้ของมือสองแทน รวมไปถึงใช้เสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น เสื้อผ้าออร์แกนิกไม่ต้องฟอกย้อม ที่ช่วยป้องกันไม่ให้สารเคมีที่มีอันตรายเข้าสู่ร่างกายของตัวคุณเองได้

3. เดิน หรือขี่จักรยานแทนการใช้รถยนต์ ถ้าคุณจะไปซื้อของในจุดที่รัศมีไม่ไกลจากบ้านนัก ก็ไม่ต้องขับรถยนต์ไป ให้ใช้เดินหรือขี่จักรยานแทน เช่น เดินออกไปซื้อกับข้าวหน้าหมู่บ้าน ก็ถือเป็นการออกกำลังกายทางหนึ่ง ที่สำคัญอย่าลืมเอาตะกร้า ถุงผ้า หรือปิ่นโตไปใส่ให้เคยชิน เป็นการช่วยลดการน้ำมันและประหยัดเงินได้อีกด้วย

4. เลือกใช้ เลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อน้อย ๆ เพื่อลดปริมาณขยะจำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในโลก และหันมาใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ทำจากธรรมชาติแทนกล่องโฟม เช่น กล่องใส่ข้าวจากกระดาษหรือชานอ้อย หรือซื้อขนมที่ห่อใบตองกินแทนขนมขบเคี้ยว หรือสั่งอาหารปิ่นโตมากินที่ออฟฟิศ นอกจากราคาไม่แพงแล้ว บรรจุภัณฑ์ยังไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อโลกด้วย

5. ลดปริมาณขยะในบ้าน ใช้ประโยชน์จากสิ่งของต่าง ๆ ในบ้านให้คุ้มค่า เช่น ถุงใส่ของที่ได้มาจากการจับจ่ายซื้อของ ก็สามารถนำมาใส่ของได้อีกหรือถ้าเก่าแล้วก็นำมาใช้เป็นถุงใส่ขยะ เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว ก็นำมาดัดแปลงเป็นของใช้อื่น ๆ เช่น ผ้าขี้ริ้ว หรือนำไปบริจาคให้องค์กรการ

6. แยกขยะให้เป็นนิสัย ไม่ ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแยกขยะให้เป็นสัดส่วน เช่น ขยะย่อยสลายได้ ขวดแก้วใส ขวดแก้วสี กล่องกระดาษ กระดาษสิ่งพิมพ์ กระป๋องโลหะ พลาสติก และขยะทั่วไป การแยกขยะ เป็นการช่วยให้สามารถนำขยะประเภทต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่มากขี้น ตามสูตร Reduce (ลดการใช้), Reuse (นำกลับมาใช้ใหม่) และRecycle

7. ช่วยกันปลูกต้นไม้เยอะ ๆไปปลูกป่าไม่ได้ ก็ปลูกในกระถางก็ได้ ต้นไม้ทำหน้าที่เหมือนเป็นปอดให้กับระบบนิเวศวิทยา ปลูก ต้นไม้ 1 ต้นจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตันตลอดอายุของมัน

8. หยุดใช้สินค้าที่มีสาร CFC ตัวการสำคัญในการทำลายชั้นโอโซนโลก หรือถ้าจะใช้ก็ใช้น้อยที่สุดหรือเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะเครื่องใช้ฟ้าที่ก่อให้เกิดความเย็น เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ทั้งในอาคารและรถยนต์ สเปรย์ฉีดผม สเปรย์กันยุง ฯลฯ

9. หันมาใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ทำจากธรรมชาติ เช่นมะขามเปียก ดินสองพอง ขมิ้นขัดผิว เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและร่างกายที่สดชื่น เพราะ ในเครื่องสำอางเหล่านี้ก็ไม่มีส่วนประกอบสารเคมีที่อันตรายต่อตัวเรา และทำร้ายธรรมชาติเหมือนกับผลิตภัณฑ์เสริมความงามทั่วไป

10. คิดในแง่บวก ใคร ๆ ที่เคยใช้ชีวิตตามใจตัวเอง ไม่สนใจดูแลโลกหรือธรรมชาติ ย่อมรู้สึกอึดอัดบ้างเป็นธรรมดาที่ห้ามตัวเองไม่ให้ทำนู้นทำนี่ได้อย่างสุข สบายเหมือนเก่า แต่ถ้าคุณทำได้เป็นกิจวัตร คุณก็จะเป็นอีกคนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาร้อนโลกได้

"คาร์บอนฟุตพริ้นท์" ฉลากสินค้ารักษ์โลก

ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Label) เป็นเครื่องหมายที่ติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าใด ซึ่งปกติจะต้องไม่เกินร้อยละ 10โดยฉลากดังกล่าวจะช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และยังกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการผลิตให้เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมมากขึ้นที่สำคัญแนวทางดังกล่าวยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เนื่องจากขณะนี้หลายประเทศเริ่มมีการนำคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระบุชัดเจนว่า ผลิตภัณฑ์นำเข้าทุกชนิดต้องมีฉลากดังกล่าวภายในปี 2554 หมายความว่า หากประเทศไทยไม่มีฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ก็ไม่สามารถทำการค้ากับฝรั่งเศสได้

"คนไทยยังไม่ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก ซึ่งแตกต่างจากชาวต่างชาติที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอด ดังนั้น ควรมีทำการตลาดดึงความสนใจผู้บริโภคมากขึ้น เช่น เชิญชวนให้ผู้บริโภคหันมาซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และให้รางวัลสมนาคุณตอบแทนผู้ที่สะสมฉลากดังกล่าว"