



















e-Wasteหรือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นของเหลือใช้ซึ่งประกอบด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งชิ้นส่วนหลายชิ้นของอุปกรณ์เหล่านี้เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีธาตุบางชนิดที่เป็นพิษ ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียมและกำมะถัน จอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมีตะกั่วเป็นองค์ประกอบสูงถึง ร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นปัญหาใหญ่สำหรับหลายประเทศทั่วโลกเนื่องจากสินค้าพวก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมีอายุการใช้งานที่ไม่นานอาจจะ ประมาณ 3-4 ปีเท่านั้นและราคาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ก็มีราคาถูกทำให้ขยะ อิเล็กทรอนิกส์ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นทั่วโลก ดังนั้นหลายประเทศทั่วโลกได้มีการตระหนักในการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์โดย บางประเทศในเอเชียได้ออกกฎหมายรีไซเคิลคอมพิวเตอร์แห่งชาติและนอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลายบริษัทได้มีการพัฒนาสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีการตั้งจุดรับคืนสินค้าที่หมด อายุเพื่อนำไปรีไซเคิลอีกด้วย ผู้บริหารองค์กรและพนักงานภายในองค์กรก็สามารถมีส่วนช่วยลดปัญหาขยะ อิเล็กทรอนิกส์ได้ดังนี้
1. มีการวางแผนในการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในองค์กรโดยที่เลือก ใช้จอคอมพิวเตอร์แบบแบนซึ่งจะประหยัดไฟมากกว่าจอโค้งถึงร้อยละ 60 รวมถึงช่วยถนอมสายตาและง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ใช้คอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Notebook) จะช่วยประหยัดไฟได้มากกว่าคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะถึง 1 ใน 4 เท่า ใช้เครื่องพิมพ์แบบหมึกพ่น (Inkjet printer) ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser printer) ถึงร้อยละ 90 ใช้เครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์กระดาษได้สองหน้าเพราะการพิมพ์กระดาษทีเดียว สองหน้าจะช่วยประหยัดพลังงาน เลือกใช้อุปกรณ์ที่เป็น All-in-one ที่เป็นได้ทั้งเครื่องพิมพ์ โทรสาร เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องสแกนในตัว
2. เลือกซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. กำหนดแนวทางในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงโดยควรใช้ความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่พอเหมาะและควรปิดสวิทซ์จอภาพ เมื่อไม่ได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อีกนานประมาณ 30 นาทีขึ้นไปควรพิมพ์สีตามความจำเป็นจริงๆ เพราะการพิมพ์สีเปลื้องพลังงานมากกว่าการพิมพ์ขาวดำ ไม่พิมพ์เอกสารออกมาทางกระดาษโดยไม่จำเป็นควรใช้การรับส่งข้อมูลทางเครือ ข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ควรปิดเครื่องและถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งานเพราะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นตัว ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
4. เข้าร่วมโครงการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกวิธีโดยเข้าร่วมโครงการรีไซเคิลของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ไม่ใช้แล้วให้กับโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง
มอ.ดันทะเลสาบสงขลาขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม ทำวิถีชีวิตคนในพื้นที่เปลี่ยน แนะรัฐเร่งกำหนดนโยบายฯ ให้คงสภาพพื้นที่ชุ่มน้ำ...
รอง ศาสตราจารย์ ดร.นพรัตน์ บำรุงรักษ์ นักวิชาการจากสถาบันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) กล่าวว่า จากการลงสำรวจพื้นที่สภาพป่าพรุควนเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในลุ่มแม่น้ำทะเลสาบสงขลา ที่มีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุงและสงขลา พบว่าระบบนิเวศน์ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งรับน้ำมีความเสี่ยงสูงที่ถูกทำลาย เนื่องจากการรุกล้ำพื้นที่ของป่าพรุของกลุ่มเกษตรกร เพื่อนำพื้นที่ไปทำการเกษตรกรรม
ทั้งนี้ กลุ่มเกษตรกรที่รุกล้ำพื้นที่เพื่อเพาะปลูกปาล์ม ได้ทำการขุดคูย้ายดินยกร่องน้ำให้สูง รวมถึงการขุดคลองชลประทานสายชะอวด-แพรกเมือง และการขุดลอกคลองไส้ไก่ เพื่อใช้ในการเกษตร ทำให้ปริมาณน้ำไหลลงสู่คูที่มีระดับต่ำกว่า ส่งผลต่อระบบนิเวศน์ โดยปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ป่าพรุลดลง ทำให้ระบบนิเวศน์ของพืช สัตว์ แหล่งเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำได้รับความเสียหาย เกิดไฟไหม้พรุในฤดูกาลที่น้ำใต้ดินลดต่ำ นอกจากนี้ ยังส่งผลการเจริญเติบโตของต้นกระจูด ที่เป็นแหล่งวัตถุดิบของอุตสาหกรรมครัวเรือน ที่กลุ่มชาวบ้านใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื่อ ทำใบเรือ และทำกระสอบบรรจุสินค้าเกษตร ถูกทำลายลง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่น่าเป็นกังวลว่า อาจจะทำให้ไม่สามารถขึ้นทะเบียนทะเลสาบสงขลาเป็นมรดกโลกทางนิเวศวัฒนธรรมได้
นักวิชาการจากสถาบันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และคณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. กล่าวด้วยว่า ภาครัฐควรเร่งกำหนดนโยบายที่ชัดเจนต่อการอนุรักษ์ป่าพรุควนเคร็ง ให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำหรือเลือกพัฒนาให้เป็นพื้นที่เพื่อเกษตรกรรม ที่ต้องศึกษาปริมาณน้ำในพื้นที่รับน้ำของป่าพรุ และสร้างกลไกในการประสานกับหน่วยงานการเปิดปิดประตูระบายน้ำ เพื่อรักษาระดับน้ำใต้ดินให้อยู่ใกล้ผิวดินตลอดทั้งปี เพื่อคงสภาพป่าพรุควนเคร็งที่เป็นแหล่งระบบนิเวศน์ของพืช สัตว์และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำไว้ให้ได้
“ปัญหาระบบนิเวศน์ที่เกิด ขึ้นของป่าพรุควนเคร็ง เกิดจากการการรุกล้ำพื้นที่เพื่อทำเกษตรกรรมของชาวบ้าน ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ป่าพรุลดลง จนอาจก่อให้เกิดปัญหาไฟป่า เหมือนเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ที่ได้ทำลายระบบนิเวศน์ในพื้นที่นับพันไร่ ดังนั้น ภาครัฐตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขและใช้หลัก การบริหารการจัดการที่ดีเพื่อเยียวยาระบบนิเวศน์ของป่าพรุควนเคร็งให้กลับ คืนสภาพดังเดิม”รองศาสตราจารย์ ดร.นพรัตน์ กล่าว