



















e-Wasteหรือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นของเหลือใช้ซึ่งประกอบด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งชิ้นส่วนหลายชิ้นของอุปกรณ์เหล่านี้เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีธาตุบางชนิดที่เป็นพิษ ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียมและกำมะถัน จอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมีตะกั่วเป็นองค์ประกอบสูงถึง ร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นปัญหาใหญ่สำหรับหลายประเทศทั่วโลกเนื่องจากสินค้าพวก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมีอายุการใช้งานที่ไม่นานอาจจะ ประมาณ 3-4 ปีเท่านั้นและราคาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ก็มีราคาถูกทำให้ขยะ อิเล็กทรอนิกส์ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นทั่วโลก ดังนั้นหลายประเทศทั่วโลกได้มีการตระหนักในการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์โดย บางประเทศในเอเชียได้ออกกฎหมายรีไซเคิลคอมพิวเตอร์แห่งชาติและนอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลายบริษัทได้มีการพัฒนาสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีการตั้งจุดรับคืนสินค้าที่หมด อายุเพื่อนำไปรีไซเคิลอีกด้วย ผู้บริหารองค์กรและพนักงานภายในองค์กรก็สามารถมีส่วนช่วยลดปัญหาขยะ อิเล็กทรอนิกส์ได้ดังนี้
1. มีการวางแผนในการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในองค์กรโดยที่เลือก ใช้จอคอมพิวเตอร์แบบแบนซึ่งจะประหยัดไฟมากกว่าจอโค้งถึงร้อยละ 60 รวมถึงช่วยถนอมสายตาและง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ใช้คอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Notebook) จะช่วยประหยัดไฟได้มากกว่าคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะถึง 1 ใน 4 เท่า ใช้เครื่องพิมพ์แบบหมึกพ่น (Inkjet printer) ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser printer) ถึงร้อยละ 90 ใช้เครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์กระดาษได้สองหน้าเพราะการพิมพ์กระดาษทีเดียว สองหน้าจะช่วยประหยัดพลังงาน เลือกใช้อุปกรณ์ที่เป็น All-in-one ที่เป็นได้ทั้งเครื่องพิมพ์ โทรสาร เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องสแกนในตัว
2. เลือกซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. กำหนดแนวทางในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงโดยควรใช้ความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่พอเหมาะและควรปิดสวิทซ์จอภาพ เมื่อไม่ได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อีกนานประมาณ 30 นาทีขึ้นไปควรพิมพ์สีตามความจำเป็นจริงๆ เพราะการพิมพ์สีเปลื้องพลังงานมากกว่าการพิมพ์ขาวดำ ไม่พิมพ์เอกสารออกมาทางกระดาษโดยไม่จำเป็นควรใช้การรับส่งข้อมูลทางเครือ ข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ควรปิดเครื่องและถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งานเพราะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นตัว ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
4. เข้าร่วมโครงการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกวิธีโดยเข้าร่วมโครงการรีไซเคิลของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ไม่ใช้แล้วให้กับโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง
มอ.ดันทะเลสาบสงขลาขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม ทำวิถีชีวิตคนในพื้นที่เปลี่ยน แนะรัฐเร่งกำหนดนโยบายฯ ให้คงสภาพพื้นที่ชุ่มน้ำ...
รอง ศาสตราจารย์ ดร.นพรัตน์ บำรุงรักษ์ นักวิชาการจากสถาบันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) กล่าวว่า จากการลงสำรวจพื้นที่สภาพป่าพรุควนเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในลุ่มแม่น้ำทะเลสาบสงขลา ที่มีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุงและสงขลา พบว่าระบบนิเวศน์ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งรับน้ำมีความเสี่ยงสูงที่ถูกทำลาย เนื่องจากการรุกล้ำพื้นที่ของป่าพรุของกลุ่มเกษตรกร เพื่อนำพื้นที่ไปทำการเกษตรกรรม
ทั้งนี้ กลุ่มเกษตรกรที่รุกล้ำพื้นที่เพื่อเพาะปลูกปาล์ม ได้ทำการขุดคูย้ายดินยกร่องน้ำให้สูง รวมถึงการขุดคลองชลประทานสายชะอวด-แพรกเมือง และการขุดลอกคลองไส้ไก่ เพื่อใช้ในการเกษตร ทำให้ปริมาณน้ำไหลลงสู่คูที่มีระดับต่ำกว่า ส่งผลต่อระบบนิเวศน์ โดยปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ป่าพรุลดลง ทำให้ระบบนิเวศน์ของพืช สัตว์ แหล่งเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำได้รับความเสียหาย เกิดไฟไหม้พรุในฤดูกาลที่น้ำใต้ดินลดต่ำ นอกจากนี้ ยังส่งผลการเจริญเติบโตของต้นกระจูด ที่เป็นแหล่งวัตถุดิบของอุตสาหกรรมครัวเรือน ที่กลุ่มชาวบ้านใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื่อ ทำใบเรือ และทำกระสอบบรรจุสินค้าเกษตร ถูกทำลายลง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่น่าเป็นกังวลว่า อาจจะทำให้ไม่สามารถขึ้นทะเบียนทะเลสาบสงขลาเป็นมรดกโลกทางนิเวศวัฒนธรรมได้
นักวิชาการจากสถาบันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และคณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. กล่าวด้วยว่า ภาครัฐควรเร่งกำหนดนโยบายที่ชัดเจนต่อการอนุรักษ์ป่าพรุควนเคร็ง ให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำหรือเลือกพัฒนาให้เป็นพื้นที่เพื่อเกษตรกรรม ที่ต้องศึกษาปริมาณน้ำในพื้นที่รับน้ำของป่าพรุ และสร้างกลไกในการประสานกับหน่วยงานการเปิดปิดประตูระบายน้ำ เพื่อรักษาระดับน้ำใต้ดินให้อยู่ใกล้ผิวดินตลอดทั้งปี เพื่อคงสภาพป่าพรุควนเคร็งที่เป็นแหล่งระบบนิเวศน์ของพืช สัตว์และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำไว้ให้ได้
“ปัญหาระบบนิเวศน์ที่เกิด ขึ้นของป่าพรุควนเคร็ง เกิดจากการการรุกล้ำพื้นที่เพื่อทำเกษตรกรรมของชาวบ้าน ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ป่าพรุลดลง จนอาจก่อให้เกิดปัญหาไฟป่า เหมือนเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ที่ได้ทำลายระบบนิเวศน์ในพื้นที่นับพันไร่ ดังนั้น ภาครัฐตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขและใช้หลัก การบริหารการจัดการที่ดีเพื่อเยียวยาระบบนิเวศน์ของป่าพรุควนเคร็งให้กลับ คืนสภาพดังเดิม”รองศาสตราจารย์ ดร.นพรัตน์ กล่าว
1. ใช้ถุงผ้า แทนถุงพลาสติก เป็นสิ่งที่คุณทำได้ง่าย ๆ และใกล้ตัวมากที่สุด โดยเลือกขนาดของถุงที่ผ้าแบบเก๋ ๆ ดีไซน์โดนใจคุณไว้สักหนึ่งใบ เวลาไปชอปปิ้งข้าวของเครื่องใช้ชิ้นเล็ก ๆ อย่างต่างหู เครื่องประดับ เสื้อผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย เมื่อซื้อเสร็จแล้วก็เอาใส่ถุงผ้าแทน ก็เป็นการช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกขนาดเล็ก และโฟมที่ใช้ในการบรรจุสินค้าได้เป็นจำนวนมาก
2. เปลี่ยนมาใช้ของมือสอง เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับบางชิ้นไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่เสมอ เพราะ สินค้าทุกชิ้นที่วางขายล้วนมีต้นทุนในการผลิตอย่างมหาศาล การซื้อแบบไม่ติดเบรก จึงเท่ากับกระตุ้นการผลิตและเร่งตักตวงใช้ทรัพยากรมากเกินไป ลองเปลี่ยนจากการซื้อของใหม่เป็นการซ่อมหรือใช้ของมือสองแทน รวมไปถึงใช้เสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น เสื้อผ้าออร์แกนิกไม่ต้องฟอกย้อม ที่ช่วยป้องกันไม่ให้สารเคมีที่มีอันตรายเข้าสู่ร่างกายของตัวคุณเองได้
3. เดิน หรือขี่จักรยานแทนการใช้รถยนต์ ถ้าคุณจะไปซื้อของในจุดที่รัศมีไม่ไกลจากบ้านนัก ก็ไม่ต้องขับรถยนต์ไป ให้ใช้เดินหรือขี่จักรยานแทน เช่น เดินออกไปซื้อกับข้าวหน้าหมู่บ้าน ก็ถือเป็นการออกกำลังกายทางหนึ่ง ที่สำคัญอย่าลืมเอาตะกร้า ถุงผ้า หรือปิ่นโตไปใส่ให้เคยชิน เป็นการช่วยลดการน้ำมันและประหยัดเงินได้อีกด้วย
4. เลือกใช้ เลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อน้อย ๆ เพื่อลดปริมาณขยะจำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในโลก และหันมาใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ทำจากธรรมชาติแทนกล่องโฟม เช่น กล่องใส่ข้าวจากกระดาษหรือชานอ้อย หรือซื้อขนมที่ห่อใบตองกินแทนขนมขบเคี้ยว หรือสั่งอาหารปิ่นโตมากินที่ออฟฟิศ นอกจากราคาไม่แพงแล้ว บรรจุภัณฑ์ยังไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อโลกด้วย
5. ลดปริมาณขยะในบ้าน ใช้ประโยชน์จากสิ่งของต่าง ๆ ในบ้านให้คุ้มค่า เช่น ถุงใส่ของที่ได้มาจากการจับจ่ายซื้อของ ก็สามารถนำมาใส่ของได้อีกหรือถ้าเก่าแล้วก็นำมาใช้เป็นถุงใส่ขยะ เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว ก็นำมาดัดแปลงเป็นของใช้อื่น ๆ เช่น ผ้าขี้ริ้ว หรือนำไปบริจาคให้องค์กรการ
6. แยกขยะให้เป็นนิสัย ไม่ ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแยกขยะให้เป็นสัดส่วน เช่น ขยะย่อยสลายได้ ขวดแก้วใส ขวดแก้วสี กล่องกระดาษ กระดาษสิ่งพิมพ์ กระป๋องโลหะ พลาสติก และขยะทั่วไป การแยกขยะ เป็นการช่วยให้สามารถนำขยะประเภทต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่มากขี้น ตามสูตร Reduce (ลดการใช้), Reuse (นำกลับมาใช้ใหม่) และRecycle
7. ช่วยกันปลูกต้นไม้เยอะ ๆไปปลูกป่าไม่ได้ ก็ปลูกในกระถางก็ได้ ต้นไม้ทำหน้าที่เหมือนเป็นปอดให้กับระบบนิเวศวิทยา ปลูก ต้นไม้ 1 ต้นจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตันตลอดอายุของมัน
8. หยุดใช้สินค้าที่มีสาร CFC ตัวการสำคัญในการทำลายชั้นโอโซนโลก หรือถ้าจะใช้ก็ใช้น้อยที่สุดหรือเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะเครื่องใช้ฟ้าที่ก่อให้เกิดความเย็น เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ทั้งในอาคารและรถยนต์ สเปรย์ฉีดผม สเปรย์กันยุง ฯลฯ
9. หันมาใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ทำจากธรรมชาติ เช่นมะขามเปียก ดินสองพอง ขมิ้นขัดผิว เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและร่างกายที่สดชื่น เพราะ ในเครื่องสำอางเหล่านี้ก็ไม่มีส่วนประกอบสารเคมีที่อันตรายต่อตัวเรา และทำร้ายธรรมชาติเหมือนกับผลิตภัณฑ์เสริมความงามทั่วไป
10. คิดในแง่บวก ใคร ๆ ที่เคยใช้ชีวิตตามใจตัวเอง ไม่สนใจดูแลโลกหรือธรรมชาติ ย่อมรู้สึกอึดอัดบ้างเป็นธรรมดาที่ห้ามตัวเองไม่ให้ทำนู้นทำนี่ได้อย่างสุข สบายเหมือนเก่า แต่ถ้าคุณทำได้เป็นกิจวัตร คุณก็จะเป็นอีกคนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาร้อนโลกได้
ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Label) เป็นเครื่องหมายที่ติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าใด ซึ่งปกติจะต้องไม่เกินร้อยละ 10โดยฉลากดังกล่าวจะช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และยังกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการผลิตให้เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมมากขึ้นที่สำคัญแนวทางดังกล่าวยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เนื่องจากขณะนี้หลายประเทศเริ่มมีการนำคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระบุชัดเจนว่า ผลิตภัณฑ์นำเข้าทุกชนิดต้องมีฉลากดังกล่าวภายในปี 2554 หมายความว่า หากประเทศไทยไม่มีฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ก็ไม่สามารถทำการค้ากับฝรั่งเศสได้
"คนไทยยังไม่ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก ซึ่งแตกต่างจากชาวต่างชาติที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอด ดังนั้น ควรมีทำการตลาดดึงความสนใจผู้บริโภคมากขึ้น เช่น เชิญชวนให้ผู้บริโภคหันมาซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และให้รางวัลสมนาคุณตอบแทนผู้ที่สะสมฉลากดังกล่าว"