วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ภาวะโลกร้อนกับขยะ
ในบ้านเรายังไม่มีกฎหมายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการแยกขยะ แต่ถ้าเราทุกคนช่วยกันทำก็คงจะดีต่อสิ่งแวดล้อม เวลาจะทิ้งก็ให้เราแยกระหว่าง ขยะเปียก แก้ว พลาสติก และขยะที่เป็นพิษ เวลาเขาเก็บไปจะได้สามารถนำไปกำจัดได้อย่างถูกวิธี
บรรจุภัณฑ์ประเภทแก้วนอกจากจะดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะว่าสามารถนำมารีไซเคิลได้ นอกจากนั้นยังดีต่อสุขภาพของเราอีกด้วย เพราะขวดแก้วจะไม่ทำปฏิกิริยาต่อสิ่งที่บรรจุอยู่ในนั้น ซึ่งหมายความว่ามันดีต่อสุขภาพของเรา และถือว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ของยุคภาวะโลกร้อนเลยทีเดียว
เรามาดูกันว่าอะไรย่อยสลายยากที่สุด
• โฟม 500 – 1,000 ปี
• ผ้าอ้อมสำเร็จรูป 500 ปี
• ถุงพลาสติก 100 – 450 ปี
• อะลูมิเนียม 80 – 100 ปี
• เครื่องหนัง 25 – 40 ปี
• ก้นบุหรี่ 12 ปี
• ถ้วยกระดาษเคลือบ 5 ปี
• เปลือกส้ม 6 เดือน
• เศษกระดาษ 2 – 5 เดือน
การที่เรานำของเก่ากลับมาใช้อีก และการรีไซเคิลนั้น สามารถลดการใช้พลังงานไปได้มาก เพราะฉะนั้นการแยกขยะให้เป็นประเภทและทิ้งให้ถูกวิธีนั้น ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถลดภาวะโลกร้อนได้
วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552
10 วิธีง่ายๆ ช่วยลดโลกร้อน
1. ใช้ถุงผ้า แทนถุงพลาสติก เป็นสิ่งที่คุณทำได้ง่าย ๆ และใกล้ตัวมากที่สุด โดยเลือกขนาดของถุงที่ผ้าแบบเก๋ ๆ ดีไซน์โดนใจคุณไว้สักหนึ่งใบ เวลาไปชอปปิ้งข้าวของเครื่องใช้ชิ้นเล็ก ๆ อย่างต่างหู เครื่องประดับ เสื้อผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย เมื่อซื้อเสร็จแล้วก็เอาใส่ถุงผ้าแทน ก็เป็นการช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกขนาดเล็ก และโฟมที่ใช้ในการบรรจุสินค้าได้เป็นจำนวนมาก
2. เปลี่ยนมาใช้ของมือสอง เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับบางชิ้นไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่เสมอ เพราะ สินค้าทุกชิ้นที่วางขายล้วนมีต้นทุนในการผลิตอย่างมหาศาล การซื้อแบบไม่ติดเบรก จึงเท่ากับกระตุ้นการผลิตและเร่งตักตวงใช้ทรัพยากรมากเกินไป ลองเปลี่ยนจากการซื้อของใหม่เป็นการซ่อมหรือใช้ของมือสองแทน รวมไปถึงใช้เสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น เสื้อผ้าออร์แกนิกไม่ต้องฟอกย้อม ที่ช่วยป้องกันไม่ให้สารเคมีที่มีอันตรายเข้าสู่ร่างกายของตัวคุณเองได้
3. เดิน หรือขี่จักรยานแทนการใช้รถยนต์ ถ้าคุณจะไปซื้อของในจุดที่รัศมีไม่ไกลจากบ้านนัก ก็ไม่ต้องขับรถยนต์ไป ให้ใช้เดินหรือขี่จักรยานแทน เช่น เดินออกไปซื้อกับข้าวหน้าหมู่บ้าน ก็ถือเป็นการออกกำลังกายทางหนึ่ง ที่สำคัญอย่าลืมเอาตะกร้า ถุงผ้า หรือปิ่นโตไปใส่ให้เคยชิน เป็นการช่วยลดการน้ำมันและประหยัดเงินได้อีกด้วย
4. เลือกใช้ เลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อน้อย ๆ เพื่อลดปริมาณขยะจำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในโลก และหันมาใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ทำจากธรรมชาติแทนกล่องโฟม เช่น กล่องใส่ข้าวจากกระดาษหรือชานอ้อย หรือซื้อขนมที่ห่อใบตองกินแทนขนมขบเคี้ยว หรือสั่งอาหารปิ่นโตมากินที่ออฟฟิศ นอกจากราคาไม่แพงแล้ว บรรจุภัณฑ์ยังไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อโลกด้วย
5. ลดปริมาณขยะในบ้าน ใช้ประโยชน์จากสิ่งของต่าง ๆ ในบ้านให้คุ้มค่า เช่น ถุงใส่ของที่ได้มาจากการจับจ่ายซื้อของ ก็สามารถนำมาใส่ของได้อีกหรือถ้าเก่าแล้วก็นำมาใช้เป็นถุงใส่ขยะ เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว ก็นำมาดัดแปลงเป็นของใช้อื่น ๆ เช่น ผ้าขี้ริ้ว หรือนำไปบริจาคให้องค์กรการ
6. แยกขยะให้เป็นนิสัย ไม่ ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแยกขยะให้เป็นสัดส่วน เช่น ขยะย่อยสลายได้ ขวดแก้วใส ขวดแก้วสี กล่องกระดาษ กระดาษสิ่งพิมพ์ กระป๋องโลหะ พลาสติก และขยะทั่วไป การแยกขยะ เป็นการช่วยให้สามารถนำขยะประเภทต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่มากขี้น ตามสูตร Reduce (ลดการใช้), Reuse (นำกลับมาใช้ใหม่) และRecycle
7. ช่วยกันปลูกต้นไม้เยอะ ๆไปปลูกป่าไม่ได้ ก็ปลูกในกระถางก็ได้ ต้นไม้ทำหน้าที่เหมือนเป็นปอดให้กับระบบนิเวศวิทยา ปลูก ต้นไม้ 1 ต้นจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตันตลอดอายุของมัน
8. หยุดใช้สินค้าที่มีสาร CFC ตัวการสำคัญในการทำลายชั้นโอโซนโลก หรือถ้าจะใช้ก็ใช้น้อยที่สุดหรือเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะเครื่องใช้ฟ้าที่ก่อให้เกิดความเย็น เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ทั้งในอาคารและรถยนต์ สเปรย์ฉีดผม สเปรย์กันยุง ฯลฯ
9. หันมาใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ทำจากธรรมชาติ เช่นมะขามเปียก ดินสองพอง ขมิ้นขัดผิว เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและร่างกายที่สดชื่น เพราะ ในเครื่องสำอางเหล่านี้ก็ไม่มีส่วนประกอบสารเคมีที่อันตรายต่อตัวเรา และทำร้ายธรรมชาติเหมือนกับผลิตภัณฑ์เสริมความงามทั่วไป
10. คิดในแง่บวก ใคร ๆ ที่เคยใช้ชีวิตตามใจตัวเอง ไม่สนใจดูแลโลกหรือธรรมชาติ ย่อมรู้สึกอึดอัดบ้างเป็นธรรมดาที่ห้ามตัวเองไม่ให้ทำนู้นทำนี่ได้อย่างสุข สบายเหมือนเก่า แต่ถ้าคุณทำได้เป็นกิจวัตร คุณก็จะเป็นอีกคนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาร้อนโลกได้
"คาร์บอนฟุตพริ้นท์" ฉลากสินค้ารักษ์โลก
ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Label) เป็นเครื่องหมายที่ติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าใด ซึ่งปกติจะต้องไม่เกินร้อยละ 10โดยฉลากดังกล่าวจะช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และยังกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการผลิตให้เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมมากขึ้นที่สำคัญแนวทางดังกล่าวยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เนื่องจากขณะนี้หลายประเทศเริ่มมีการนำคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระบุชัดเจนว่า ผลิตภัณฑ์นำเข้าทุกชนิดต้องมีฉลากดังกล่าวภายในปี 2554 หมายความว่า หากประเทศไทยไม่มีฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ก็ไม่สามารถทำการค้ากับฝรั่งเศสได้
"คนไทยยังไม่ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก ซึ่งแตกต่างจากชาวต่างชาติที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอด ดังนั้น ควรมีทำการตลาดดึงความสนใจผู้บริโภคมากขึ้น เช่น เชิญชวนให้ผู้บริโภคหันมาซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และให้รางวัลสมนาคุณตอบแทนผู้ที่สะสมฉลากดังกล่าว"
ดูโทรทัศน์ให้ประหยัดไฟ
โทรทัศน์ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกันเกือบจะทุกบ้าน แม้จะไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุด แต่ระยะเวลาในการใช้งานโทรทัศน์ดูจะนานมากในวัน ๆ หนึ่ง ยิ่งวันหยุดเกือบทุกชีวิตในบ้านจะต้องพากันนั่งเฝ้าจอทีวี เดี๋ยวนี้มีรีโมทคอนโทรลด้วย ยิ่งแล้วใหญ่เพราะเวลาเราไม่ดูเรามักจะกดคำสั่งให้เครื่องปิดด้วยรีโมท ซึ่งไม่ใช่การปิดเครื่องที่แท้จริง โทรทัศน์ยังคงกินไฟไปเรื่อย ๆ
บ้านเราจึงมีกฎเหล็กว่าด้วยการดูโทรทัศน์เพื่อไม่ให้กินไฟมากเกินไปดังนี้
1.ห้ามเปิดโทรทัศน์ไว้ดูคน (แบบว่าหลับหน้าจอนะ ไม่เอา)
2.ไม่เปิดโทรทัศน์ก่อนถึงรายการที่อยากดูจริง ๆ ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเรามักเปิดทิ้งเรียกว่าเรียกน้ำย่อยก่อนถึงรายการที่อยากดูจริง ซึ่งนิสัยนี้แก้ได้ด้วยการวางนาฬิกาไว้เหนือเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อให้แน่ ใจว่าถึงเวลารายการโปรดแล้วค่อยเปิด
3.ไม่ปิดโทรทัศน์ด้วยรีโมทคอนโทรล (stand by) เมื่อเลิกดูทุกครั้งควรปิดสวิตช์ที่เครื่อง และต้องดึงปลั๊กออกทุกครั้ง
4.ต้อง ไม่คิดอยากมีโทรทัศน์มากกว่าหนึ่งเครื่อง แม้โทรทัศน์ปัจจุบันราคาจะไม่แพง มากก็ตาม เพราะมีหลายเครื่องเดียวเปิดพร้อมกันกินไฟตายเลย
5.จอภาพไม่ต้องปรับแสงให้สว่างมากเกินไป เพราะกินไฟมากและเครื่องจะเสื่อมเร็ว
6.ปฏิบัติตามคู่มือในการดูแลเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อให้อายุการใช้งานนานขึ้น
เท่านี้ก็ช่วยประเทศชาติประหยัดพลังงานไปได้มากแล้วนะคะ
ภาวะโลกร้อน กับ ยุงลาย
ภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้วงจรชีวิตของยุงลายเปลี่ยนไป คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ลูกน้ำยุงลายฟักตัวเร็วขึ้นจากเดิม 7 วันกลายเป็น 5 วัน ซึ่งแน่นอนทำให้พวกยุงลายเพิ่มจำนวนประชากรได้เร็วขึ้น และจากเดิมที่ยุงลายเคยออกหากินเฉพาะในตอนกลางวัน แต่ภาวะโลกร้อนทำ ให้ยุงลายออกหากินในช่วงกลางคืนถึง 5 ทุ่มด้วย ซึ่งแต่ก่อนจะมีแค่ยุงรำคาญที่ออกหากินในเวลานี้ ทำให้การควบคุมโรคนั้นยากขึ้นไปกว่าเดิม
ที่ร้ายกว่านั้นก็คือไวรัสเดงกี่ (Dengue Virus) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกนั้น แต่เดิมจะมีอยู่ในเฉพาะยุงลายตัวเมีย เพราะการที่ยุงลายจะติดไวรัสเดงกี่ได้นั้น จะต้องไปกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกและรับไวรัสนี้มาเท่านั้น แต่ตอนนี้พบว่ามีไวรัสเดงกี่ในยุงลายตัวผู้ด้วย จึงเกิดข้อสงสัยว่าทำไมยุงลายตัวผู้ถึงมีไวรัสนี้ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่ายุงลายที่กินเลือดคนนั้นมีแต่ยุงตัวเมีย และก็ได้พบว่าเกิดจากการที่แม่ของมันที่มีไวรัสเดงกี่ถ่ายทอดไวรัสนี้มาให้ ตั้งแต่เกิด เพราะว่ามีการพบไวรัสเดงกี่นี้ในลูกน้ำยุงลายด้วย
ยุงลายตัวผู้ที่มีไวรัสเดงกี่ เวลาที่มันไปผสมพันธุ์กับตัวเมียก็จะแพร่ไวรัสนี้ผ่านทางน้ำเชื้อไปติดตัว เมียด้วย และยุงลายตัวผู้สามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง จึงทำให้เชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายไปเร็วมากขึ้นกว่าเดิม และยังจะถูกถ่ายทอดไปยังลูกของมันได้อีกด้วย