วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
อีเบย์ ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซ
มร.จอห์น โดนาโฮ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อีเบย์ อิงค์ ประกาศนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนไดออกไซด์ภายในองค์กรเป็น ครั้งแรก ผ่านความร่วมมือกับคาร์บอน ดิสโคลสเชอร์ โปรเจ็คต์ (Carbon Disclosure Project : CDP) ซึ่ง เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไร ดูแลบริหารฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะ อากาศของบริษัทต่างๆ ทั้งนี้ อีเบย์ ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปี 2551 ลง 15% ภายในปี 2555 สนับ สนุนการใช้พลังงานอย่างรับผิดชอบ โดยลงทุนพัฒนาและติดตั้งระบบพลังงานทดแทน เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียวในสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด อีเบย์ได้เปิดสำนักงานแห่งใหม่ขนาด 197,000 ตารางฟุต ในเมืองซาน โฮเซ่ สหรัฐอเมริกา ภายในอาคารดังกล่าว ติดตั้งหลอดไฟฟ้าแบบพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 650 kW พร้อมทั้งระบบไฟสลัว ตลอดจนใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ ติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 100 kW ในสำนักงานของบริษัทในเมืองเดนเวอร์ มลรัฐโคโลราโด ขณะนี้ บริษัทอยู่ในระหว่างการติดตั้งระบบไฟฟ้าที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) ให้ใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ
โลกร้อนพ่นพิษหนัก ทะเลสาบแอฟริกาหด
องค์การ อาหารและเกษตรของสหประชา ชาติ หรือ "เอฟเอโอ" เตือนว่า ทะเลสาบชาดในภูมิภาคแอฟริกากลาง ซึ่งล้อมรอบโดยประเทศแคเมอรูน ชาด ไนเจอร์ และไนจีเรีย และทำสถิติเป็น 1 ในแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกขณะนี้หดตัวลงถึงร้อยละ 90
ถอยหลังกลับไปเมื่อปี 2507 แหล่งน้ำแห่งนี้มีขนาดใหญ่ถึง 25,000 ตารางกิโลเมตร แต่ล่าสุดน้ำเหือดแห้งจนเหลือพื้นที่แค่เพียง 2,500 ตารางกิโลเมตร มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ประกอบกับพลเมืองโดยรอบแหล่งน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากสถานการณ์ยังเป็นไปเช่นนี้ ภายใน 20 ปี ทะเลสาบจะหายสูญไปโดยสิ้นเชิง
ลดโลกร้อนสุดล้ำสไตล์
ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพ
ภาวะโลกร้อนไม่เพียง ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปแต่มีสิ่งซ่อนเร้นที่แอบแฝงมาพร้อม ปรากฏการณ์นี้ด้วยว่าโลกร้อนขึ้นจะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
เด วิท พิเมนเทล นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนลในอเมริกา ระบุว่าโลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช ที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิด โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลก จะสามารถเพิ่มขึ้นมากในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ส่า อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษนักวิทยาศาสตร์ในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก และ London School of Hygiene and Tropical Medicine วิทยาลัยศึกษาด้านสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนของอังกฤษ แถลงว่า ในแต่ละปีประชาชนราว 160,000 คนเสียชีวิตเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่โรคมาลาเรีย ไปจนถึงการขาดแคลนสุขอนามัยที่ดี และตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้อาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวในอีก 17 ปีข้างหน้า แถลงการณ์ของคณะแพทย์ระดับโลกระบุว่า เด็กในประเทศกำลังพัฒนาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เช่นในประเทศแถบแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะต้องเผชิญกับการแพร่ขยายของการขาดแคลนสุขอนามัยโรคท้องร่วง และโรคมาเลเรีย ท่ามกลางอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น น้ำท่วม และภัยแล้ง
วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
เกาะมัลดีฟส์จะจม
มัลดีฟส์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติของเกาะที่สวยงาม ดำน้ำดูแนวปะการังและสัตว์น้ำที่มีอยู่มากมาย เกาะมัลดีฟส์ถือว่าเป็นเกาะสวรรค์ของทุกคนที่ไปเยือนเลยก็ว่าได้
แต่ภาวะโลกร้อนก็ทำให้เกาะ สวรรค์แห่งนี้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เมื่อผลการวัดระดับน้ำทะเลรอบๆเกาะตลอด 15 ปีที่ผ่านมานี้เพิ่มขึ้นถึง 4.5 เซนติเมตร คาดว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 20-60 เซนติเมตร ภายในสิ้นศตวรรษนี้ และเราจะพบพายุที่บริเวณเกาะมัลดีฟส์บ่อยขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ที่ว่านี้จะส่งผลกระทบต่อประชากรของประเทศและนักท่องเที่ยว อย่างมากแน่นอน ประเทศมัลดีฟส์เป็นประเทศแรกที่ลงนามในพิธีสารเกียวโต (เป็นมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ดำเนินการในการรับมือกับภาวะโลกร้อน)
ลดภาวะโลกร้อนกับกระดาษทิชชู่
เวลาที่เราจะดึงทิชชูมาใช้ก็ให้พึงระลึกไว้ เสมอว่ามันคือต้นไม้ที่ช่วยให้เราดำรงชีวิตมาได้จนถึงทุกวันนี้ ไม่มีทิชชูเราไม่ตายแต่ว่าถ้าไม่มีต้นไม้ละก็คงไม่เหลือ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าห้ามไม่ให้ใช้ แต่เวลาใช้ก็อยากให้ใช้ให้คุ้มค่า เช่น เวลาทานอาหารแล้วจะใช้เช็ดปาก ก็ใช้แผ่นนึงให้คุ้มหน่อย พับไปพับมาให้ครบทุกด้าน ไม่ใช่ดึงเอาๆ ยิ่งทุกวันนี้กระดาษทิชชูถูกออกแบบให้ดึงง่ายอยู่แล้วด้วย โดยเฉพาะที่ร้านอาหารอย่าคิดว่ามันเป็นของฟรีแล้วก็ดึงใหญ่เลย สาวกันอย่างเมามัน พึงระลึกไว้เสมอว่ามันคือต้นไม้ๆๆๆ ส่วนถ้าเวลาอยู่บ้าน อันไหนที่ใช้ผ้าแทนได้ก็ให้ใช้ผ้าเถอะค่ะ อย่างเวลาทำน้ำหกถ้าใช้ทิชชูเช็ดให้แห้งหมดก็คงแย่ เพราะฉะนั้นให้เราใช้เวลาจำเป็นเท่านั้นนะค่ะ เพื่อที่จะได้ช่วยลดภาวะโลกร้อน จริงๆแล้วกระดาษทิชชูก็ไม่ได้เป็นของที่เราจะต้องใช้กันมากมายอยู่แล้ว
สุดท้ายนี้ดิฉันมีเกร็ดเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับกระ ดาษทิชชูมาฝากค่ะ (มาจากหนังสือเพราะว่าโลกร้อนมันจี๊ด) ผู้ผลิตทิชชูออกจำหน่ายรายแรก คือ นายโจเซฟ กาเย็ตตี้ นักธุรกิจชาวอเมริกัน วางขายในปี ค.ศ. 1857 (150 ปีที่แล้ว) แต่ปรากฏว่าเจ๊งค่ะ เพราะว่าคนสมัยนั้นเค้าคิดว่าทำไมต้องใช้กระดาษเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง (แต่คนสมัยนี้ใช้เอาๆ) แต่หลังจากนั้น 20 ปี กระดาษทิชชูตราสก๊อตปรับปรุงใหม่นุ่มกว่าเดิมออกมาวางตลาด คนจึงเริ่มนิยมใช้จนถึงทุกวันนี้.. เพื่อนๆอย่าลืมนะคะ ทุกครั้งที่จะใช้กระดาษทิชชูให้ระลึกไว้ว่ามันคือต้นไม้ที่ให้ชีวิตเรา ถ้าท่านต้องการมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อนแล้วล่ะก็ เพียงใช้ทิชชูให้คุ้มค่าก็ช่วยโลกได้แล้วล่ะค่ะ
วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ลดภาวะโลกร้อนโดยการประหยัดไฟ
1. Energy – Saving อันนี้หลายๆคนคงรู้อยู่แล้ว นั่นก็คือเลือกเครื่องไฟฟ้าที่กินไฟน้อย โดยดูจากสัญลักษณ์เบอร์ 5 นั่นเอง นอกจากจะช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้ว ยังจะช่วยลดรายจ่ายของเราอีกด้วย
2. Eco – Friendly หรือ Eco – Label เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าสินค้านั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายระบบนิเวศน์ ย่อยสลายง่าย นำไปรีไซเคิลได้ และอื่นๆอีก
ฉลากเขียว
3. Green – Label ฉลากเขียว อันนี้เป็นโครงการที่มีการร่วมมือกันจากหลายฝ่าย โดยมีคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อที่จะพิจารณาออกฉลากเขียวนี้ให้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
ภาวะโลกร้อนกับหมีขั้วโลก
หมีขั้วโลกเป็นราชาแห่งดินแดนน้ำแข็งที่ทุกคน รู้จักกันดี ด้วยความสามารถในการปรับตัวให้อยู่ในที่หนาวเย็นได้ดีและพละกำลังที่มี อย่างมหาศาล หมีขั้วโลกจึงถูกขนานนามว่าเป็นนักล่าแห่งดินแดนน้ำแข็ง แต่ตอนนี้ราชาผู้ยิ่งใหญ่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนนั่นเอง
ภาวะโลกร้อนทำ ให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายลงอย่างรวดเร็ว หมีขั้วโลกที่ปกติอาศัยอยู่บนพื้นน้ำแข็งก็ทำให้หาแผ่นน้ำแข็งอยู่ได้ยาก ขึ้น มีหลายครั้งที่หมีขั้วโลกต้องว่ายน้ำเป็นร้อยๆไมล์เพื่อหาอาหาร และหาแผ่นน้ำแข็งเหยียบ ทำให้มีหมีขั้วโลกจมน้ำตายไปแล้วก็มี ด้วยอาหารที่หายากมากขึ้นบวกกับน้ำแข็งที่เป็นที่อยู่ของมันลดน้อยลงอัน เนื่องมาจากภาวะโลกร้อน หมีขั้วโลกจึงเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก
เรามาช่วยกันลดภาวะโลกร้อนกันเถอะค่ะ ก่อนที่หมีขั้วโลกและสัตว์อื่นๆจะแย่และสูญพันธุ์ไปมากกว่านี้ ถ้ามีใครมาไล่ที่อยู่ที่เราเคยอาศัยเคยทำกินอยู่เราก็คงเดือนร้อนแน่ใช่ไหม เพราะฉะนั้นถ้าช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้ก็ช่วยๆกันนะคะ ….
ภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็ เพราะว่าเหล่าก๊าซเรือนกระจกทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของ มนุษย์นั้นเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว รวมถึงการที่ป่าไม้ถูกตัดและทำลายลงไปอย่างมาก จึงทำให้ไม่มีตัวฟอกอากาศที่มากพอ จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศ ของโลกอย่างหนาแน่น ความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่เคยถูกสะท้อนกลับออกไปนอกโลกก็ถูกสะสมไว้ในโลกมาก เกินไป และก็เป็นสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้น ก็มีให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็กลับมาให้เราได้เห็นใหม่ และพาหะนำโรคที่มีมากขึ้น ในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้น