วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ภาวะโลกร้อนกับขยะ
ในบ้านเรายังไม่มีกฎหมายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการแยกขยะ แต่ถ้าเราทุกคนช่วยกันทำก็คงจะดีต่อสิ่งแวดล้อม เวลาจะทิ้งก็ให้เราแยกระหว่าง ขยะเปียก แก้ว พลาสติก และขยะที่เป็นพิษ เวลาเขาเก็บไปจะได้สามารถนำไปกำจัดได้อย่างถูกวิธี
บรรจุภัณฑ์ประเภทแก้วนอกจากจะดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะว่าสามารถนำมารีไซเคิลได้ นอกจากนั้นยังดีต่อสุขภาพของเราอีกด้วย เพราะขวดแก้วจะไม่ทำปฏิกิริยาต่อสิ่งที่บรรจุอยู่ในนั้น ซึ่งหมายความว่ามันดีต่อสุขภาพของเรา และถือว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ของยุคภาวะโลกร้อนเลยทีเดียว
เรามาดูกันว่าอะไรย่อยสลายยากที่สุด
• โฟม 500 – 1,000 ปี
• ผ้าอ้อมสำเร็จรูป 500 ปี
• ถุงพลาสติก 100 – 450 ปี
• อะลูมิเนียม 80 – 100 ปี
• เครื่องหนัง 25 – 40 ปี
• ก้นบุหรี่ 12 ปี
• ถ้วยกระดาษเคลือบ 5 ปี
• เปลือกส้ม 6 เดือน
• เศษกระดาษ 2 – 5 เดือน
การที่เรานำของเก่ากลับมาใช้อีก และการรีไซเคิลนั้น สามารถลดการใช้พลังงานไปได้มาก เพราะฉะนั้นการแยกขยะให้เป็นประเภทและทิ้งให้ถูกวิธีนั้น ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถลดภาวะโลกร้อนได้
วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552
10 วิธีง่ายๆ ช่วยลดโลกร้อน
1. ใช้ถุงผ้า แทนถุงพลาสติก เป็นสิ่งที่คุณทำได้ง่าย ๆ และใกล้ตัวมากที่สุด โดยเลือกขนาดของถุงที่ผ้าแบบเก๋ ๆ ดีไซน์โดนใจคุณไว้สักหนึ่งใบ เวลาไปชอปปิ้งข้าวของเครื่องใช้ชิ้นเล็ก ๆ อย่างต่างหู เครื่องประดับ เสื้อผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย เมื่อซื้อเสร็จแล้วก็เอาใส่ถุงผ้าแทน ก็เป็นการช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกขนาดเล็ก และโฟมที่ใช้ในการบรรจุสินค้าได้เป็นจำนวนมาก
2. เปลี่ยนมาใช้ของมือสอง เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับบางชิ้นไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่เสมอ เพราะ สินค้าทุกชิ้นที่วางขายล้วนมีต้นทุนในการผลิตอย่างมหาศาล การซื้อแบบไม่ติดเบรก จึงเท่ากับกระตุ้นการผลิตและเร่งตักตวงใช้ทรัพยากรมากเกินไป ลองเปลี่ยนจากการซื้อของใหม่เป็นการซ่อมหรือใช้ของมือสองแทน รวมไปถึงใช้เสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น เสื้อผ้าออร์แกนิกไม่ต้องฟอกย้อม ที่ช่วยป้องกันไม่ให้สารเคมีที่มีอันตรายเข้าสู่ร่างกายของตัวคุณเองได้
3. เดิน หรือขี่จักรยานแทนการใช้รถยนต์ ถ้าคุณจะไปซื้อของในจุดที่รัศมีไม่ไกลจากบ้านนัก ก็ไม่ต้องขับรถยนต์ไป ให้ใช้เดินหรือขี่จักรยานแทน เช่น เดินออกไปซื้อกับข้าวหน้าหมู่บ้าน ก็ถือเป็นการออกกำลังกายทางหนึ่ง ที่สำคัญอย่าลืมเอาตะกร้า ถุงผ้า หรือปิ่นโตไปใส่ให้เคยชิน เป็นการช่วยลดการน้ำมันและประหยัดเงินได้อีกด้วย
4. เลือกใช้ เลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อน้อย ๆ เพื่อลดปริมาณขยะจำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในโลก และหันมาใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ทำจากธรรมชาติแทนกล่องโฟม เช่น กล่องใส่ข้าวจากกระดาษหรือชานอ้อย หรือซื้อขนมที่ห่อใบตองกินแทนขนมขบเคี้ยว หรือสั่งอาหารปิ่นโตมากินที่ออฟฟิศ นอกจากราคาไม่แพงแล้ว บรรจุภัณฑ์ยังไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อโลกด้วย
5. ลดปริมาณขยะในบ้าน ใช้ประโยชน์จากสิ่งของต่าง ๆ ในบ้านให้คุ้มค่า เช่น ถุงใส่ของที่ได้มาจากการจับจ่ายซื้อของ ก็สามารถนำมาใส่ของได้อีกหรือถ้าเก่าแล้วก็นำมาใช้เป็นถุงใส่ขยะ เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว ก็นำมาดัดแปลงเป็นของใช้อื่น ๆ เช่น ผ้าขี้ริ้ว หรือนำไปบริจาคให้องค์กรการ
6. แยกขยะให้เป็นนิสัย ไม่ ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแยกขยะให้เป็นสัดส่วน เช่น ขยะย่อยสลายได้ ขวดแก้วใส ขวดแก้วสี กล่องกระดาษ กระดาษสิ่งพิมพ์ กระป๋องโลหะ พลาสติก และขยะทั่วไป การแยกขยะ เป็นการช่วยให้สามารถนำขยะประเภทต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่มากขี้น ตามสูตร Reduce (ลดการใช้), Reuse (นำกลับมาใช้ใหม่) และRecycle
7. ช่วยกันปลูกต้นไม้เยอะ ๆไปปลูกป่าไม่ได้ ก็ปลูกในกระถางก็ได้ ต้นไม้ทำหน้าที่เหมือนเป็นปอดให้กับระบบนิเวศวิทยา ปลูก ต้นไม้ 1 ต้นจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตันตลอดอายุของมัน
8. หยุดใช้สินค้าที่มีสาร CFC ตัวการสำคัญในการทำลายชั้นโอโซนโลก หรือถ้าจะใช้ก็ใช้น้อยที่สุดหรือเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะเครื่องใช้ฟ้าที่ก่อให้เกิดความเย็น เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ทั้งในอาคารและรถยนต์ สเปรย์ฉีดผม สเปรย์กันยุง ฯลฯ
9. หันมาใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ทำจากธรรมชาติ เช่นมะขามเปียก ดินสองพอง ขมิ้นขัดผิว เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและร่างกายที่สดชื่น เพราะ ในเครื่องสำอางเหล่านี้ก็ไม่มีส่วนประกอบสารเคมีที่อันตรายต่อตัวเรา และทำร้ายธรรมชาติเหมือนกับผลิตภัณฑ์เสริมความงามทั่วไป
10. คิดในแง่บวก ใคร ๆ ที่เคยใช้ชีวิตตามใจตัวเอง ไม่สนใจดูแลโลกหรือธรรมชาติ ย่อมรู้สึกอึดอัดบ้างเป็นธรรมดาที่ห้ามตัวเองไม่ให้ทำนู้นทำนี่ได้อย่างสุข สบายเหมือนเก่า แต่ถ้าคุณทำได้เป็นกิจวัตร คุณก็จะเป็นอีกคนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาร้อนโลกได้
"คาร์บอนฟุตพริ้นท์" ฉลากสินค้ารักษ์โลก
ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Label) เป็นเครื่องหมายที่ติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าใด ซึ่งปกติจะต้องไม่เกินร้อยละ 10โดยฉลากดังกล่าวจะช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และยังกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการผลิตให้เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมมากขึ้นที่สำคัญแนวทางดังกล่าวยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เนื่องจากขณะนี้หลายประเทศเริ่มมีการนำคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระบุชัดเจนว่า ผลิตภัณฑ์นำเข้าทุกชนิดต้องมีฉลากดังกล่าวภายในปี 2554 หมายความว่า หากประเทศไทยไม่มีฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ก็ไม่สามารถทำการค้ากับฝรั่งเศสได้
"คนไทยยังไม่ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก ซึ่งแตกต่างจากชาวต่างชาติที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอด ดังนั้น ควรมีทำการตลาดดึงความสนใจผู้บริโภคมากขึ้น เช่น เชิญชวนให้ผู้บริโภคหันมาซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และให้รางวัลสมนาคุณตอบแทนผู้ที่สะสมฉลากดังกล่าว"
ดูโทรทัศน์ให้ประหยัดไฟ
โทรทัศน์ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกันเกือบจะทุกบ้าน แม้จะไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุด แต่ระยะเวลาในการใช้งานโทรทัศน์ดูจะนานมากในวัน ๆ หนึ่ง ยิ่งวันหยุดเกือบทุกชีวิตในบ้านจะต้องพากันนั่งเฝ้าจอทีวี เดี๋ยวนี้มีรีโมทคอนโทรลด้วย ยิ่งแล้วใหญ่เพราะเวลาเราไม่ดูเรามักจะกดคำสั่งให้เครื่องปิดด้วยรีโมท ซึ่งไม่ใช่การปิดเครื่องที่แท้จริง โทรทัศน์ยังคงกินไฟไปเรื่อย ๆ
บ้านเราจึงมีกฎเหล็กว่าด้วยการดูโทรทัศน์เพื่อไม่ให้กินไฟมากเกินไปดังนี้
1.ห้ามเปิดโทรทัศน์ไว้ดูคน (แบบว่าหลับหน้าจอนะ ไม่เอา)
2.ไม่เปิดโทรทัศน์ก่อนถึงรายการที่อยากดูจริง ๆ ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเรามักเปิดทิ้งเรียกว่าเรียกน้ำย่อยก่อนถึงรายการที่อยากดูจริง ซึ่งนิสัยนี้แก้ได้ด้วยการวางนาฬิกาไว้เหนือเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อให้แน่ ใจว่าถึงเวลารายการโปรดแล้วค่อยเปิด
3.ไม่ปิดโทรทัศน์ด้วยรีโมทคอนโทรล (stand by) เมื่อเลิกดูทุกครั้งควรปิดสวิตช์ที่เครื่อง และต้องดึงปลั๊กออกทุกครั้ง
4.ต้อง ไม่คิดอยากมีโทรทัศน์มากกว่าหนึ่งเครื่อง แม้โทรทัศน์ปัจจุบันราคาจะไม่แพง มากก็ตาม เพราะมีหลายเครื่องเดียวเปิดพร้อมกันกินไฟตายเลย
5.จอภาพไม่ต้องปรับแสงให้สว่างมากเกินไป เพราะกินไฟมากและเครื่องจะเสื่อมเร็ว
6.ปฏิบัติตามคู่มือในการดูแลเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อให้อายุการใช้งานนานขึ้น
เท่านี้ก็ช่วยประเทศชาติประหยัดพลังงานไปได้มากแล้วนะคะ
ภาวะโลกร้อน กับ ยุงลาย
ภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้วงจรชีวิตของยุงลายเปลี่ยนไป คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ลูกน้ำยุงลายฟักตัวเร็วขึ้นจากเดิม 7 วันกลายเป็น 5 วัน ซึ่งแน่นอนทำให้พวกยุงลายเพิ่มจำนวนประชากรได้เร็วขึ้น และจากเดิมที่ยุงลายเคยออกหากินเฉพาะในตอนกลางวัน แต่ภาวะโลกร้อนทำ ให้ยุงลายออกหากินในช่วงกลางคืนถึง 5 ทุ่มด้วย ซึ่งแต่ก่อนจะมีแค่ยุงรำคาญที่ออกหากินในเวลานี้ ทำให้การควบคุมโรคนั้นยากขึ้นไปกว่าเดิม
ที่ร้ายกว่านั้นก็คือไวรัสเดงกี่ (Dengue Virus) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกนั้น แต่เดิมจะมีอยู่ในเฉพาะยุงลายตัวเมีย เพราะการที่ยุงลายจะติดไวรัสเดงกี่ได้นั้น จะต้องไปกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกและรับไวรัสนี้มาเท่านั้น แต่ตอนนี้พบว่ามีไวรัสเดงกี่ในยุงลายตัวผู้ด้วย จึงเกิดข้อสงสัยว่าทำไมยุงลายตัวผู้ถึงมีไวรัสนี้ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่ายุงลายที่กินเลือดคนนั้นมีแต่ยุงตัวเมีย และก็ได้พบว่าเกิดจากการที่แม่ของมันที่มีไวรัสเดงกี่ถ่ายทอดไวรัสนี้มาให้ ตั้งแต่เกิด เพราะว่ามีการพบไวรัสเดงกี่นี้ในลูกน้ำยุงลายด้วย
ยุงลายตัวผู้ที่มีไวรัสเดงกี่ เวลาที่มันไปผสมพันธุ์กับตัวเมียก็จะแพร่ไวรัสนี้ผ่านทางน้ำเชื้อไปติดตัว เมียด้วย และยุงลายตัวผู้สามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง จึงทำให้เชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายไปเร็วมากขึ้นกว่าเดิม และยังจะถูกถ่ายทอดไปยังลูกของมันได้อีกด้วย
วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
อีเบย์ ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซ
มร.จอห์น โดนาโฮ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อีเบย์ อิงค์ ประกาศนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนไดออกไซด์ภายในองค์กรเป็น ครั้งแรก ผ่านความร่วมมือกับคาร์บอน ดิสโคลสเชอร์ โปรเจ็คต์ (Carbon Disclosure Project : CDP) ซึ่ง เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไร ดูแลบริหารฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะ อากาศของบริษัทต่างๆ ทั้งนี้ อีเบย์ ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปี 2551 ลง 15% ภายในปี 2555 สนับ สนุนการใช้พลังงานอย่างรับผิดชอบ โดยลงทุนพัฒนาและติดตั้งระบบพลังงานทดแทน เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียวในสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด อีเบย์ได้เปิดสำนักงานแห่งใหม่ขนาด 197,000 ตารางฟุต ในเมืองซาน โฮเซ่ สหรัฐอเมริกา ภายในอาคารดังกล่าว ติดตั้งหลอดไฟฟ้าแบบพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 650 kW พร้อมทั้งระบบไฟสลัว ตลอดจนใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ ติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 100 kW ในสำนักงานของบริษัทในเมืองเดนเวอร์ มลรัฐโคโลราโด ขณะนี้ บริษัทอยู่ในระหว่างการติดตั้งระบบไฟฟ้าที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) ให้ใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ
โลกร้อนพ่นพิษหนัก ทะเลสาบแอฟริกาหด
องค์การ อาหารและเกษตรของสหประชา ชาติ หรือ "เอฟเอโอ" เตือนว่า ทะเลสาบชาดในภูมิภาคแอฟริกากลาง ซึ่งล้อมรอบโดยประเทศแคเมอรูน ชาด ไนเจอร์ และไนจีเรีย และทำสถิติเป็น 1 ในแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกขณะนี้หดตัวลงถึงร้อยละ 90
ถอยหลังกลับไปเมื่อปี 2507 แหล่งน้ำแห่งนี้มีขนาดใหญ่ถึง 25,000 ตารางกิโลเมตร แต่ล่าสุดน้ำเหือดแห้งจนเหลือพื้นที่แค่เพียง 2,500 ตารางกิโลเมตร มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ประกอบกับพลเมืองโดยรอบแหล่งน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากสถานการณ์ยังเป็นไปเช่นนี้ ภายใน 20 ปี ทะเลสาบจะหายสูญไปโดยสิ้นเชิง
ลดโลกร้อนสุดล้ำสไตล์
ภาวะโลกร้อนกับสุขภาพ
ภาวะโลกร้อนไม่เพียง ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปแต่มีสิ่งซ่อนเร้นที่แอบแฝงมาพร้อม ปรากฏการณ์นี้ด้วยว่าโลกร้อนขึ้นจะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
เด วิท พิเมนเทล นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนลในอเมริกา ระบุว่าโลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช ที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิด โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลก จะสามารถเพิ่มขึ้นมากในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ส่า อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษนักวิทยาศาสตร์ในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก และ London School of Hygiene and Tropical Medicine วิทยาลัยศึกษาด้านสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนของอังกฤษ แถลงว่า ในแต่ละปีประชาชนราว 160,000 คนเสียชีวิตเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่โรคมาลาเรีย ไปจนถึงการขาดแคลนสุขอนามัยที่ดี และตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้อาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวในอีก 17 ปีข้างหน้า แถลงการณ์ของคณะแพทย์ระดับโลกระบุว่า เด็กในประเทศกำลังพัฒนาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เช่นในประเทศแถบแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะต้องเผชิญกับการแพร่ขยายของการขาดแคลนสุขอนามัยโรคท้องร่วง และโรคมาเลเรีย ท่ามกลางอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น น้ำท่วม และภัยแล้ง
วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
เกาะมัลดีฟส์จะจม
มัลดีฟส์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติของเกาะที่สวยงาม ดำน้ำดูแนวปะการังและสัตว์น้ำที่มีอยู่มากมาย เกาะมัลดีฟส์ถือว่าเป็นเกาะสวรรค์ของทุกคนที่ไปเยือนเลยก็ว่าได้
แต่ภาวะโลกร้อนก็ทำให้เกาะ สวรรค์แห่งนี้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เมื่อผลการวัดระดับน้ำทะเลรอบๆเกาะตลอด 15 ปีที่ผ่านมานี้เพิ่มขึ้นถึง 4.5 เซนติเมตร คาดว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 20-60 เซนติเมตร ภายในสิ้นศตวรรษนี้ และเราจะพบพายุที่บริเวณเกาะมัลดีฟส์บ่อยขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ที่ว่านี้จะส่งผลกระทบต่อประชากรของประเทศและนักท่องเที่ยว อย่างมากแน่นอน ประเทศมัลดีฟส์เป็นประเทศแรกที่ลงนามในพิธีสารเกียวโต (เป็นมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ดำเนินการในการรับมือกับภาวะโลกร้อน)
ลดภาวะโลกร้อนกับกระดาษทิชชู่
เวลาที่เราจะดึงทิชชูมาใช้ก็ให้พึงระลึกไว้ เสมอว่ามันคือต้นไม้ที่ช่วยให้เราดำรงชีวิตมาได้จนถึงทุกวันนี้ ไม่มีทิชชูเราไม่ตายแต่ว่าถ้าไม่มีต้นไม้ละก็คงไม่เหลือ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าห้ามไม่ให้ใช้ แต่เวลาใช้ก็อยากให้ใช้ให้คุ้มค่า เช่น เวลาทานอาหารแล้วจะใช้เช็ดปาก ก็ใช้แผ่นนึงให้คุ้มหน่อย พับไปพับมาให้ครบทุกด้าน ไม่ใช่ดึงเอาๆ ยิ่งทุกวันนี้กระดาษทิชชูถูกออกแบบให้ดึงง่ายอยู่แล้วด้วย โดยเฉพาะที่ร้านอาหารอย่าคิดว่ามันเป็นของฟรีแล้วก็ดึงใหญ่เลย สาวกันอย่างเมามัน พึงระลึกไว้เสมอว่ามันคือต้นไม้ๆๆๆ ส่วนถ้าเวลาอยู่บ้าน อันไหนที่ใช้ผ้าแทนได้ก็ให้ใช้ผ้าเถอะค่ะ อย่างเวลาทำน้ำหกถ้าใช้ทิชชูเช็ดให้แห้งหมดก็คงแย่ เพราะฉะนั้นให้เราใช้เวลาจำเป็นเท่านั้นนะค่ะ เพื่อที่จะได้ช่วยลดภาวะโลกร้อน จริงๆแล้วกระดาษทิชชูก็ไม่ได้เป็นของที่เราจะต้องใช้กันมากมายอยู่แล้ว
สุดท้ายนี้ดิฉันมีเกร็ดเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับกระ ดาษทิชชูมาฝากค่ะ (มาจากหนังสือเพราะว่าโลกร้อนมันจี๊ด) ผู้ผลิตทิชชูออกจำหน่ายรายแรก คือ นายโจเซฟ กาเย็ตตี้ นักธุรกิจชาวอเมริกัน วางขายในปี ค.ศ. 1857 (150 ปีที่แล้ว) แต่ปรากฏว่าเจ๊งค่ะ เพราะว่าคนสมัยนั้นเค้าคิดว่าทำไมต้องใช้กระดาษเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง (แต่คนสมัยนี้ใช้เอาๆ) แต่หลังจากนั้น 20 ปี กระดาษทิชชูตราสก๊อตปรับปรุงใหม่นุ่มกว่าเดิมออกมาวางตลาด คนจึงเริ่มนิยมใช้จนถึงทุกวันนี้.. เพื่อนๆอย่าลืมนะคะ ทุกครั้งที่จะใช้กระดาษทิชชูให้ระลึกไว้ว่ามันคือต้นไม้ที่ให้ชีวิตเรา ถ้าท่านต้องการมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อนแล้วล่ะก็ เพียงใช้ทิชชูให้คุ้มค่าก็ช่วยโลกได้แล้วล่ะค่ะ
วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ลดภาวะโลกร้อนโดยการประหยัดไฟ
1. Energy – Saving อันนี้หลายๆคนคงรู้อยู่แล้ว นั่นก็คือเลือกเครื่องไฟฟ้าที่กินไฟน้อย โดยดูจากสัญลักษณ์เบอร์ 5 นั่นเอง นอกจากจะช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้ว ยังจะช่วยลดรายจ่ายของเราอีกด้วย
2. Eco – Friendly หรือ Eco – Label เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าสินค้านั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายระบบนิเวศน์ ย่อยสลายง่าย นำไปรีไซเคิลได้ และอื่นๆอีก
ฉลากเขียว
3. Green – Label ฉลากเขียว อันนี้เป็นโครงการที่มีการร่วมมือกันจากหลายฝ่าย โดยมีคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อที่จะพิจารณาออกฉลากเขียวนี้ให้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
ภาวะโลกร้อนกับหมีขั้วโลก
หมีขั้วโลกเป็นราชาแห่งดินแดนน้ำแข็งที่ทุกคน รู้จักกันดี ด้วยความสามารถในการปรับตัวให้อยู่ในที่หนาวเย็นได้ดีและพละกำลังที่มี อย่างมหาศาล หมีขั้วโลกจึงถูกขนานนามว่าเป็นนักล่าแห่งดินแดนน้ำแข็ง แต่ตอนนี้ราชาผู้ยิ่งใหญ่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนนั่นเอง
ภาวะโลกร้อนทำ ให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายลงอย่างรวดเร็ว หมีขั้วโลกที่ปกติอาศัยอยู่บนพื้นน้ำแข็งก็ทำให้หาแผ่นน้ำแข็งอยู่ได้ยาก ขึ้น มีหลายครั้งที่หมีขั้วโลกต้องว่ายน้ำเป็นร้อยๆไมล์เพื่อหาอาหาร และหาแผ่นน้ำแข็งเหยียบ ทำให้มีหมีขั้วโลกจมน้ำตายไปแล้วก็มี ด้วยอาหารที่หายากมากขึ้นบวกกับน้ำแข็งที่เป็นที่อยู่ของมันลดน้อยลงอัน เนื่องมาจากภาวะโลกร้อน หมีขั้วโลกจึงเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก
เรามาช่วยกันลดภาวะโลกร้อนกันเถอะค่ะ ก่อนที่หมีขั้วโลกและสัตว์อื่นๆจะแย่และสูญพันธุ์ไปมากกว่านี้ ถ้ามีใครมาไล่ที่อยู่ที่เราเคยอาศัยเคยทำกินอยู่เราก็คงเดือนร้อนแน่ใช่ไหม เพราะฉะนั้นถ้าช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้ก็ช่วยๆกันนะคะ ….
ภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็ เพราะว่าเหล่าก๊าซเรือนกระจกทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของ มนุษย์นั้นเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว รวมถึงการที่ป่าไม้ถูกตัดและทำลายลงไปอย่างมาก จึงทำให้ไม่มีตัวฟอกอากาศที่มากพอ จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศ ของโลกอย่างหนาแน่น ความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่เคยถูกสะท้อนกลับออกไปนอกโลกก็ถูกสะสมไว้ในโลกมาก เกินไป และก็เป็นสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้น ก็มีให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็กลับมาให้เราได้เห็นใหม่ และพาหะนำโรคที่มีมากขึ้น ในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้น